Project Approach
The Project Approach, a specific kind of project-based
learning, brings a number of advantages to any classroom and represents best
practices in
21st-century education. It fits securely within both a long history of innovative teaching and learning practices—dating back, at least, to the 16th century—and within the framework of today’s growing body of research on what students need to find success and fulfillment in the current (and future) world.
21st-century education. It fits securely within both a long history of innovative teaching and learning practices—dating back, at least, to the 16th century—and within the framework of today’s growing body of research on what students need to find success and fulfillment in the current (and future) world.
About the Project Approach
The Project Approach refers to a set of teaching strategies
that enable teachers to guide students through in-depth studies of real-world
topics. Projects have a complex but flexible framework within which teaching and learning are
seen as interactive processes. When teachers implement the Approach
successfully, students feel highly motivated and actively involved in their own
learning, leading them to produce high-quality work and to grow as individuals
and collaborators.
A project, by definition, is an in-depth investigation of a real-world
topic worthy of a student’s attention and effort. The study may be carried out
with an entire class or with small groups of students—most often at the
preschool, elementary, and middle school levels. Projects typically do not
constitute the whole educational program; instead, teachers use them alongside systematic
instruction and as a
means of achieving curricular goals.
Learning &
Teaching
The Project Approach fosters not only academic knowledge
and skill sets but what many educators refer to as the whole child.
The use of the word whole stems from research indicating that students need
more than content mastery to succeed in the 21st century—they need to be
physically, emotionally, and socially healthy; they need to be intellectually
challenged and supported by caring adults; and they need to be interested and
engaged in their school learning.
Though project work has long prepared students for health,
happiness, and success—even as far back as the 16th century—it
emerged recently as a prime teaching strategy of the 21st century. Headlines
everywhere refer to a rapidly changing and more global world, and governments
and organizations call upon students to lend their hands through service,
innovation, and problem-solving. These calls to action require a new kind of
education—one that inspires, connects, and empowers students. The Project
Approach does just that by:
·
connecting students to their local and
global communities—and providing them with real-world experiences beyond the
classroom;
·
fostering what researchers refer to as
essential 21st-century skills, including critical thinking,
collaboration, and creativity;
·
providing opportunities to integrate
technologies into the classroom—and to use technologies as tools for achieving
specific purposes instead of as ends in themselves;
·
providing students with opportunities to
apply the skills they
acquire through systematic instruction;
·
building on the individual needs,
interests, and strengths of all students—and allowing students to work, where
appropriate, at their own pace;
·
giving students a sense of
purpose and fostering self esteem;
·
providing opportunities for service learning and enhancing a sense of social justice
and responsibility;
·
improving research skills by helping
students not only to use print and electronic resources but also field work, surveys,
interviews, consultations with experts, and firsthand observations and
experiences;
·
honing literacy and communication skills
by enabling students to use a variety of media to share the process and product
of their project work with authentic audiences;
·
integrating content knowledge and skills
from a variety of disciplines, so that students come to see and make
cross-curricular connections;
·
enhancing the multicultural
literacy of students by giving them opportunities to learn
about and collaborate with people from other cultures. (source: http://www.projectapproach.org)
การสอนแบบโครงการ (ที่มา : นฤมล เนียมหอม)
|
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง
โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ
ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน
การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ
ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีหากได้สนทนาร่วมกับเพื่อนและครูเป็นกลุ่มย่อย ในบริบทที่เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการสำรวจจริงๆ ครูสามารถแนะนำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มใหญ่ด้วย 2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา การทำงานภาคสนามของเด็กไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปนอกสถานที่เสมอไป อาจเป็นการสำรวจสิ่งปลูกสร้าง หรือสนามของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในโรงเรียน การวัด การทำแผนที่ ฯลฯหากต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ภาคสนามนอกโรงเรียนอาจเลือกพาเด็กไปสำรวจบริเวณใกล้ๆ โรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนน ป้ายต่างๆ บ้าน สนาม อาคาร โบราณสถาน สถานีขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจัดให้เด็กได้พูดคุยกับบุคคลซึ่งเป็นภูมิปัญญาในเรื่องนั้น ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ใช้บริการสาธารณะ ฯลฯ การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย 3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา การกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่การสืบค้น การแสดงสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ เด็กๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ การสร้างแบบจำลองต่างๆ ฯลฯ เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง 4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน 5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม
การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี
3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ
ข้อชวนคิดที่น่าสนใจที่นุ้ยอยากจะฝากไว้นะคะ
ข้อจำกัดของการเรียนแบบโครงการคือ หากไม่มีการพาเด็กออกภาคสนาม หรือพาไปทัศนศึกษา อาจจะกลัวว่าดูแลไม่ทั่วถึง หรือปัญหาด้านความปลอดภัย ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ ทำให้เด็กไม่ได้เรียนจากประสบการณ์ตรง ส่งผลให้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ
ไม่กว้างขวางพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการออกภาคสนามไม่จำเป็นต้องพาไปไหลมาก อาจจะเริ่มเรียนจากสิ่งที่ใกล้ตัว
หรืออาจจะขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเมื่อต้องพาเด็กออกไปทัศนศึกษา ซึ่งจะต้องหาจุดร่วมที่เหมาะสมและลงตัวด้วยเช่นกันค่ะ
|
|
No comments:
Post a Comment