Monday, February 25, 2013

Whole Language Approach / การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ (โฮลแลงเกวจ)


Whole Language Approach

Definition of Whole Language
 A method of teaching reading and writing that emphasizes learning whole words and phrases by encountering them in meaningful contexts rather than by phonics exercises.

Whole language describes a literacy philosophy which emphasizes that children should focus on meaning and strategy instruction. It is often contrasted with phonics-based methods of teaching reading and writing which emphasize instruction for decoding and spelling. However, from whole language practitioners' perspective, this view is erroneous and sets up a false dichotomy. Whole language practitioners teach to develop knowledge of language including the graph phonic, syntactic, semantic and pragmatic aspects of language. Within a whole language perspective, language is treated as a complete meaning-making system, the parts of which function in relational ways. It has drawn criticism by those who advocate "back to basics" pedagogy or reading instruction because whole language is based on a limited body of scientific research.



Overview
Whole language is an educational philosophy that is complex to describe, particularly because it is informed by multiple research fields including but not limited to education, linguistics, psychology, sociology, and anthropology (see also Language Experience Approach). Several strands run through most descriptions of whole language:
·        focus on making meaning in reading and expressing meaning in writing;
·        constructivist approaches to knowledge creation, emphasizing students' interpretations of text and free expression of ideas in writing (often through daily journal entries);
·        emphasis on high-quality and culturally-diverse literature;
·        integrating literacy into other areas of the curriculum, especially math, science, and social studies;
·        frequent reading
·        with students in small "guided reading" groups
·        to students with "read aloud"
·        by students independently;
·        reading and writing for real purposes;
·        focus on motivational aspects of literacy, emphasizing the love of books and engaging reading materials;
·        meaning-centered whole to part to whole instruction where phonics are taught contextually in "embedded" phonics (different from synthetic or analytic phonics); and
·        emphasis on using and understanding the meaning-making role of phonics, grammar, spelling, capitalization and punctuation in diverse social contexts.


การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ (ที่มา :คู่มือเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูกรัก ๒๕๕๑)
            การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ หรือโฮลแลงเกวจ เริ่มเป็นที่คุ้นหูคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น เพราะปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับเด็ก
            โฮลแลงเกจถูกนำมาใช้สอดแทรกไปกับการเรียนรู้ภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน โดยมีความเชื่อว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษา ถ้าเราได้สังเกตเด็กก็จะพบว่า เด็กที่มีอายุเกือบ  ๑ ปี ก็จะเริ่มพูดได้โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องสอน นั่นเพราะเด็กเรียนรู้จากความหมาย ประสบการณ์และการเรียนแบบ นั่นคือการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติ เด็กจึงไม่รู้ว่าเป็นความลำบากที่จะเรียนรู้
            เมื่อเรื่องการพูดเป็นเรื่องง่าย เรื่องการอ่านและการเขียนก็น่าจะไม่ยาก การเรียนรู้การอ่านและการเขียนแบบนี้ก็จะแตกต่างจากเดิมไปสิ้นเชิง ห้องเรียนของแนวการสอนแบบโฮลแลงเกวจจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑.    ครูสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กคุ้นกับหนังสือ ซึมซับเรื่องราวในหนังสือ โดยอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน ให้เด็กเล่าเรื่องจากการพูด การเขียน การวาด หรือการแสดง
๒.    การสอนภาษาต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน
๓.    ส่งเสริมให้เด็กสนใจและรักที่จะเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง ในห้องควรมีหนังสือให้เด็กเลือกตามความสนใจ
๔.    การสอนภาษาควรมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมาย่อเด็ก
๕.    การสอนภาษาต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ


ข้อชวนคิด : แนวการสอนแบบโฮลแลงเกวจ บทบาทของครูสำคัญมาก ครูจะต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาษา กระตุ้นให้เด็กได้ลองเขียน ผิดๆ ถูกๆ ไม่เป็นไร แต่ครูต้องให้กำลังใจ ต้องเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก เข้าใจพัฒนาการการอ่าน การเขียนแบบธรรมชาติ เพื่อเข้าใจว่าเวลาที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงแม้จะเพียงเล็กน้อย ครูก็จะได้ให้กำลังใจเด็ก ซึ่งทั้งหมดนี้ยึดหลักการธรรมชาติเป็นสำคัญ นั่นคือให้ค่อยๆ เป็นไปตามธรรมชาติของเด็กในชีวิตประจำวัน

            เพราะฉะนั้นโรงเรียนที่นำแนวคิดนี้มาใช้ คุณครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เด็กจึงจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เรื่องคุณครูก็เปรียบเสมือนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กด้วยเช่นกัน คุณครูจึงควรจัดสภาพแวดล้อม จัดสื่อ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่นได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
            หากโรงเรียนไหนอ้างว่าใช้แนวโฮลแลงเกวจ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูว่าโรงเรียนเข้าใจกระบวนการสอนแบบนี้มากแค่ไหน ในระดับอนุบาลจะเรียนแค่ภาษาที่สื่อความหมายกับเด็กเท่านั้น ยังไม่ลงลึกเรื่องวรรณยุกต์ การสะกดคำ แต่ถ้าโรงเรียนไหนสอนก็แสดงว่ามาผิดทางแล้ว
            

Friday, February 15, 2013

Neo-Humannist Education/ นีโอฮิวแมนนีส


Neo-Humanist Education (NHE) (Neohumanist Education, www.nhe.gurukul.edu, 2006)
NHE is firmly rooted in the philosophy and principles of Neo humanism, which stands for “the practice of love for all creation including plants, animals, and the in animated world” as propounded by the India philosopher Shrii P.R. Sarkar.

NHE incorporates a harmonious blending of oriental introvalsal philosophy and occidental extroversial science. Its methodology is flexible, creative and culturally sensitive, making it adaptable to different cultures and part of the world.

NHE seeks to redefine the human experience, and unleashes infinite learning potential into our live by expanding our understanding of ourselves and our potential. Spirituality, creativity and love are the center of this new force.

This concept is believed that 95 percent of children’s learning environments that influence the development of children. And another 5 percent comes from genetic. The students return to the main point that is quite too clear. Because a child's life are many factors that affect the learning of their children as well.

การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส หรือ  Positive Perfection มีลักษณะเป็นเช่นไร?
การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส คือแนวทางในการทำให้เด็ก เก่ง ฉลาด แข็งแรง มีความคิด มีน้ำใจ โดยใช้วิธีการด้านบวก ซึ่งสามารถรวบรวมเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
·       การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ
·       การพัฒนาเซลล์สมองเด็ก
·       การสร้างภาพพขน์ด้านบวกให้กับเด็ก
·       การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
·       การให้ความรัก
การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ
               นักจิตวิทยาการศึกษาในปัจจุบันได้ยอมรับแล้วว่าอารมณ์และความรู้สึกของคนเรามีผลต่อการเรียน คนเราจะมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้สูงสุดเมื่อจิตใจอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด ปราศจากความตึงเครียด และปราศจากความกังวล ดังที่นักจิตวิทยานีโอฮิวแมนนิสได้กว่าวไว้ว่า “คนเราจะเกิดการเรียนรู้และใช้ศักยภาพของตัวเองได้สูงสุดเมื่อสบายใจและมีความสุข ซึ่งเราอาจจะเรียกสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนี้ว่า สภาวะคลื่นสมองต่ำ
ดังนั้นกิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กจะต้องทำให้เกิดภาวะคลื่นสมองต่ำมากที่สุด เช่น ก่อนเข้าห้องเรียนจะมีการฝึกโยคะ นั่งสมาธิ อันถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กเรียนหนังสืออย่างสบายใจและมีความสุขในการรับรู้ เด็กๆ ที่ถูกจัดให้เรียนรู้อยู่ในบรรยากาศที่ช่วยให้มีคลื่นสมองต่ำ เช่น ได้เรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม ได้รับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ (ลดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ๆ และอาหารรสจัด) ได้ออกกำลังกายอยู่เสมอ ได้รับการยกย่องชมเชยที่เหมาะสม และได้ฝึกทำโยคำและทำสมาธิ และได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ในขณะที่เปิดเพลงเบาๆ ที่จะทำให้คลื่นสมองต่ำ จะเรียนรู้ข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว


การพัฒนาเซลล์สมองเด็ก
            เด็กที่เกิดมาแต่ละคนมีเซลล์สมองจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เราอาจจะมองได้ว่าเด็กบางคนสมองดี และสมองไม่ค่อยดี ซึ่งในความเป็นจริงนั้น คนที่สมองดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเซลล์ของสอมง แต่ขึ้นอยู่กับเซลล์ประสานประสาท (Synapes) ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งเซลล์ประสานประสาทนี้เกิดมากขึ้นเท่าใด การประสานงานของสมองย่อมดีขึ้นเท่านั้น สรุปได้ง่ายๆ คือ คนที่ฉลาด มีสมองดี ฉับไว มีความจำดี ก็คือคนที่มีเซลล์ประสานประสทเชื่องโยงกันดีนั่นเอง มีการค้นพบที่น่าสนใจว่า เซลล์ประสานประสาทจะยายตัวได้ดีเมื่อมือกับเท้าของเราทำงานมาก เพราะปลายประสาทจะอยู่ตรงส่วนนี้มาก ฉะนั้นในแนวคิดนี้จึงให้เด็กเรียนๆ เล่นๆ เรียนด้วยก็จริง แต่ต้องได้เคลื่อนไหวด้วย ดังนั้นกิจกรรมจึงมุ่งให้เด็กออกกำลังกายนอกห้องเรียน ได้ปีนป่าย ได้วิ่งเล่น เพื่อให้มือกับเท้าทำงานมากที่สุดนั่นเอง


การสร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับเด็ก
            ภาพพจน์ของตนเอง คือความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเอง ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเองโดยตรง ซึ่งอาจจะตรงหรือแตกต่างจากความรู้สึกที่คนอื่น รู้สึกต่อเรา เราทุกคนต่างก็มีภาพพจน์เป็นของตนเอง ซึ่งอาจจะมีทั้งทางด้านบวก และด้านลบ  มีผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเอง และได้ค้นพบว่า
·       ภาพพจน์ที่เรามีต่อตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้
·       ภาพพจน์ที่เรามีต่อตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงไปใยนทางที่ดีขั้นได้ ซึ่งจะทำให้เรามีความเชื่อมั่นสูงขึ้น กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น พร้อมที่ยอมรับและปรับปรุงตัวเองให้ดีขื้น ซึ่งจะทำให้การรับรู้และเรียนรู้ของเรานั้นดีขึ้นด้วย

             ดังนั้นบทบาทของครูจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของครูคือ บทเรียนที่ดีที่สุดของเด็ก คนที่เป็นครูจึงต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งพฤติกรรมส่วนตัว และเทคนิคการสอนด้วย เด็กจึงเป็นคนที่สมบูรณ์
                                            
การให้ความรัก
            อาจเปรียบเสมือนกับแห้วน้ำ ถ้าความรักของเด็กคนนั้นเต็ม ก็จะไหลเผื่แผ่ไปถึงผู้อื่น แต่ถ้าความรักของเขามีเพียงแค่ค่อนแก้ว เขาย่อมเรียกร้องต้องการการแสดงออกซึ่งความรักที่จะทำให้เขาได้รับความรักล้นเต็ม จึงเป็นเรื่องปกติที่ครูในโรงเรียนแนวคิดนี้จะเป็นครูที่มีบุคลิกภาพอบอุ่น ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำชม และสัมผัสเด็กด้วยการกอด ซึ่งล้วนเป็นการแสดงออกถึงความรักทั้งสิ้น


ข้อชวนคิด
            แนวคิดนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็ก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ มาจากสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็ก อีก ๕ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งในหมู่นักศึกษากลับมองว่าหลักเชื่อนี้ค่อนข้างชี้ชัดเกินไป เพราะในวิถีชีวิตของเด็กยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วยเช่นกัน

            สำหรับในความคิดเห็นของนุ้ยนั้น นุ้ยเองได้มีประสบการณ์ตรงการเข้าไปดูกิจกรรมการเรียนการสอนของ รร. ที่ใช้แนวคิดนี้ นุ้ยเห็นด้วยในแนวคิดนี้นะคะ เพราะเด็กพอหลุดจากบ้านก็ไปโรงเรียน ฉะนั้นโรงเรียนก็จะต้องประกอบไปด้วยความสุข และตัวอย่างที่ดีสำหรับเด็ก การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อคลื่นสมองต่ำ เช่นเดียวกับการที่เรามีสมาธิ มันก็จะทำให้เรามีจิตจดจ่อกับที่เรากำลังเรียน

            บรรยากาศในโรงเรียนโดยทั่วไปแล้วก็เหมาะสมกับการเรียนรู้นะคะ มีการปฏิบัติโยคะและนั่งสมาธิก่อนการเรียน เด็กๆ ดูร่าเริงแจ่มใส และมีความสุขดีค่ะ ถามว่าอยากให้ลูกเข้าโรงเรียนแบบนี้ไหม ถ้ามีโอกาสก็อยากนะคะ แต่ไปจับที่ไรก็พลาดทุกทีค่ะ คงมีพ่อแม่หลายท่านที่มีความรู้สึกเดียวกันกับนุ้ย แต่ดวงของลูกเราไม่ก็คงไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการที่เราจะตัดสินว่าลูกเราเหมาะหรือไม่เหมาะกับที่นี่ เพราะจะมีเด็กสักกี่คนที่ดวงดีแล้วจับสลากได้ใช่ไหมค่ะ นุ้ยคิดว่าก่อนที่พ่อแม่จะส่งลูกไปจับก็คงต้องศึกษาการสอนและแนวคิดของโรงเรียนแนวนี้ก่อนแล้ว ถ้าลูกจับไม่ได้ก็อย่าไปโทษลูกนะคะ เพราะเรายังมีทางเลือกอื่นๆ โรงเรียนอื่นๆ ที่น่าจะเหมาะกับลูกของเราหรือ ใกล้เคียงกับแนวคิดที่เราอยากจะให้ลูกเข้าเรียนได้ค่ะ
           
            นุ้ยเองก็จะต้องเตรียมหา รร. ให้กับตอนเค้าเข้า ป.๑ เหมือนกันค่ะ ตอนนี้ก็หาดูไปเรื่อยๆ ว่าที่ไหนจะดีนะทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สถานที่ และบุคลากร ยุ่งขิงเป็นที่สุดเลยค่ะกับการหา รร. ให้ลูก พ่อแม่ท่านใดได้เข้ามาอ่านแล้ว อยากจะแชร์ประสบการณ์การเลือก รร. ให้ลูก ขอให้ฝากคอมเม้นได้เลยนะคะ เพราะความคิดเห็นของท่านจะช่วยเพิ่มความรู้และเสริมประสบการณ์แก่พ่อแม่ท่านอื่นๆ ด้วยค่ะ
            แล้วเจอกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ