Sunday, July 28, 2013

ควันหลงงานสัปดาห์ครอบครัวนักอ่าน ๒๕๕๖

ห่างหายไปนานจากการเขียนบล็อค มีอะไรให้ทำมากมาย ไม่ว่าจะดูและเด็กระหว่างปิดเทอม เขียนวิทยานิพนธ์ รับงานนอกนิดหน่อย มีอะไรเอาหมด ฉะนั้นก็ไม่ได้เข้ามาเขียนกันสักที ตอนนี้ก็กลับมาโลดแล่นกันอีกครั้งหลักจากจัดเด็กเข้าที่ รร.เรียนเปิดเทอม ช่างเป็นสวรรค์สำหรับแม่อย่างจริงๆ

กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า หลังจากส่งเด็กเสร็จก็ได้แว็บไปงานสัปดาห์ครอบครัวนักอ่านที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ เจ็บหนักกันไปพอสมควรเลยค่ะ เพราะจัดมาหนักพอสมควร เดินไปทางไหนก็มีแต่งหนังสือหน้าอ่านทั้งนั้น ทั้งของเด็กและของผู้ใหญ่ แต่งานนี้นุ้ยเจ็บตัวให้กับเด็กประมาณ ๙๘ เปอร์เซ็น ของตัวเองได้ประมาณ ๒ เล่ม จะมาเริ่มรีวิวกันเลยนะคะ จะแยกตามสำนักพิมพ์กันเลยนะคะ แต่เด็ดสุดจะเป็นหนังสือเตรียมความพร้อมเพื่อสอบเข้า ป.๑ เล่มนี้พอเปิดดูแล้วรู้สึกว่า เหมาะสมกับเด็กค่ะ ไม่ง่ายและไม่ยากเกินไป เตรียมพร้อมกันแล้วมาดูกันเลยนะคะ

เร่ิมต้นกันกับแบบฝึกหัดจากครูส้มนะคะ สามเล่นนี้เล่นสนุกค่ะ




ตัวอย่างบางหน้าจากในเล่มค่ะ





เล่มที่สอง เล่มนี้ก็ชอบค่ะเล่นสนุกดี ต้นข้าวทำเกือบหมดแล้วค่ะ เป็นภาพขาวดำค่ะ




จากสำนักพิมพ์ห้องเรียนค่ะ อ่านสนุก เป็นเรื่องที่เด็กๆ อยากรู้
ต้นข้าวยืมมาจากห้องสมุดบ่อยมาก และก็นั่งอ่านที่ร้าน นุ้ยก็เลยจำยอมซื้อให้สักทีค่ะ





จากสำนักพิมพ์แปลยฟอร์คิดส์ค่ะ  จัดเฉพาะที่ลดราคา เล่มใหม่ๆ มีบ้างนิดหน่อยค่ะ





จากสำนักพิมพ์  SCHOLARTIC  เล่มละ ๕๐ บาทค่ะ จัดเต็มอีกเช่นกัน



ช่วงนี้ต้นข้าวจะชอบเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ และธรรมชาติ และชอบดูภาพจริงๆ ที่เป็นภาำถ่ายค่ะ ก็เลยซื้อประมาณด้านบนเยอะหน่อย หนังสือนิทานก็จะเบาลง นุ้ยคิดว่าคุ้มนะคะกับการลงทุนกับหนังสือ บางเรื่องตอนเด็กเราก็สนใจแต่ไม่มีหนังสือดีๆ แบบนี้ ตอนนี้พอมีวางขายและมีกำลังซื้อกำลังซื้อก็เลยจัดมาเลยค่ะ ถ้าไม่อยากซื้อก็สามารถยืมอ่านได้เช่นกันค่ะ มันเป็นการเปิดโลกกว้างสำหรับเราและลูกมากๆ ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ท่านใดอยากนำแนวทางนี้ไปใช้ก็ได้เลยนะคะ ยินดีแบ่งปันค่ะ

ถ้าถามว่าหนังสือพวกนี้เกี่ยวกีบการสอบเข้าสาธิตไหม อาจจะตอบว่าเกี่ยวค่ะ แต่เหมือนเป็นการตกผลึกความรู้ต่างๆ สิ่งรอบๆ ตัว ซึ่งข้อสอบส่วนใหญ่ก็จะมาจากตรงนี้ ถ้าให้ลูกทำแต่แบบฝึกหัดจนลืมให้เค้าเรียนรู้จากธรรมชาติ หรือสิ่งรอบๆ ตัว ก็อาจจะเป็นวิธีที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการเรียนรู้ รวมถึงการสอบด้วย เราคนเป็ฯพ่อแม่ ก็สอนลูกได้ตามความสามารถ ตามแต่วิ๔ีของแต่ละคน เรารู้จักลูกเราดีที่สุด ฉะนั้นจงสอนลูกอย่างที่เราเป็น และอยากให้ลูกเราเป็น จงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเค้า แล้วเค้าจะทำตาม เช่น ถ้าไม่อยากให้ลูกดูทีวี คุณต้องไม่เปิดทีวีดูขณะอยู่กับลูก หรือถ้าไม่อยากให้ลูกเล่นแท๊ปเล็ต ก็ไม่ต้องเอาขึ้นมาเล่นขณะอยู่กับลูก ถ้าคุณทำได้ ลูกคุณก็จะทำได้เช่นกัน ไม่อยากเลยใช่ไหมค่ะ

อัพเดท เรื่องต้นข้าวกันหน่อย ตอนนี้ก็เล่นแบบฝึกหัดทุกวันค่ะ หลังจากทำการบ้าน และก็ก่อนเวลานิทานนิดหน่อย ค่อยๆ เล่น ค่อยๆ ทำกันไปค่ะ เพราะนุ้ยคิดว่าการเร่งเด็กนั้นไม่มีประโยชน์เลยค่ะ เครียดกันเปล่าๆ ทั้งเราและลูก ฉะนั้นค่อยๆ ทำอย่างสม่ำเสมอดีกว่าจริงไหมคะ

ปล. จะพยายามเข้ามาเขียนให้บ่อยขึ้นนะคะ

Friday, May 24, 2013

ทำไมต้อง รร. สาธิต

ทำไมต้องเป็น รร. สาธิต

ก่อนอื่นต้องขออกตัวก่อนเลยว่า นุ้ยเองก็เป็นแม่คนหนึ่งที่อยากให้ลูกได้เข้าเรียนที่ดีๆ และด้วยตัวนุ้ยเองก็จบทางด้านการศึกษามา ได้ไปศึกษาดูงาน  ณ รร. สาธิต และได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดสี่ปี ที่เรียนในระดับปริญญาตรีกับ รร. สาธิต จึงพิจารณาด้วยเหตุผลและประสบการณ์ตรงว่า รร. สาธิตน่าจะเหมาะกับลูกเรา

ถ้าถามว่า รร. สาธิต คืออะไร นุ้ยก็จะตอบแบบตรงๆ ว่า ก็คือ ห้องทดลองของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงในความเป็นครูนั่นเอง แต่ด้วย มหาวิยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างๆ รร. สาธิต ก็ได้อนิสงค์มีชื่อเสียงตามไปด้วย แต่กระนั้นเลย ครูทุกๆ ท่านของ รร. สาธิต ก็เป็นหัวกะทิและมีประสบการณ์สอนสูง และมีเทคนิคที่ดีในการถ่ายทอดความรู้ในกับนักเรียนและนักศึกษาที่ฝึกงาน นักศึกษาเองนั้นก็ซึมซับความรู้เหล่านี้เพื่อเตรียมพร้อมจะเป็นครูที่ดีในอนาคต ด้วยการเรียนการสอนที่ไม่ได้ถูกจำกัดตามมาตราฐานของกระทรวงศึกษาเท่านั้น รร. สาธิตสามารถปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ พร้อมด้วยบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ องค์ประกอบเหล่านี้จึงทำให้ รร. สาธิตเป็นที่ต้องการของผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานเข้าศึกษา

ไม่ว่าด้านการทดสอบจะยากเพียงใด หรือจะต้องยอมเสียค่าบำรุงมากเท่าใด พ่อแม่เองก็พยายามขวนขวายที่จะให้ลูกได้เข้าเรียน กลับมาเข้าสู่ครอบครัวชนชั้นกลางของนุ้ยเอง ก็อยากให้ลูกเข้าเรียนเช่นกัน เงินไม่ค่อยมีเท่าไหร่ แต่เวลาและความสามารถก็พอจะมีบ้าง ก็เลยจะลงทุนแรงงานสมอง และสองมือติวลูกเองค่ะ ค่อยๆ ติวกันไป ทุกๆ วัน ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ก็พยายามกันไป ลูกคือปัจจัยที่สำคัญ ถ้าลูกให้ความร่วมมือและตั้งใจก็ประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่ง แต่ก็ต้องเผื่อใจด้วยเช่นกันว่า ถ้า ณ วันสอบลูกไม่พร้อมหรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เราก็ไม่ต้องโทษลูก หรือโทษตัวเอง เราต้องคิดว่าที่เราติวลูกไปนั้นถือว่าเป็นกำไร เราได้ใกล้ชิดลูก เรียนรู้ไปกับลูก นั่นก็คุ้มมากแล้วสำหรับคนเป็นพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง นุ้ยเผื่อใจไว้เสมอค่ะ มันอาจจะทำได้ยาก แต่ก็ต้องยอมรับ เราทำได้ตามความสามารถของเรา และลูกเค้าก็ทำเต็มศักยภาพเค้าแล้ว ก็ไม่เป็นไรค่ะ เขียนมาถึงตรงนี้แล้วก็ทำใจได้แล้วค่ะ

Saturday, April 6, 2013

ลองสอบสาธิตดีไหมเนอะ!!!!!



ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปนานมาก นานซะจนจำอะไรไม่ค่อยได้แล้วเชียว 
และเมื่อกลับมาเขียนอีกเพราะมีประเด็นในใจ ขอระบายสีกหน่อย (เหมือนว่าง)
ตอนนนี้อยู่ในช่วงสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครอบครัวของเราก็ไปช่วยขายหนังสือกัน
อยากรู้ว่าว่าอยู่บูธไหน (หลังไมค์เลยจ้า)
ปีนี้มีธีมของการซื้อหนังสือคือ หนังสือตัวสอบ ป.๑จริงๆ แล้วก็ซื้อมันทุกๆ ปีแหล่ะค่ะ
แต่ปีนี้จะมากหน่อยเพราะเจ้าตัวเล็กกำลังจะขึ้น อ. ๒ ค่ะ ยุ่งขิงเป็นที่สุด
เพราะต้องเตรียมหา รร. ป.๑เอาอย่างไรกันดีล่ะคะพี่น้อง
ครั้นจะให้เรียน กทม.ก็จะดูง่ายไปไหม หรือว่าจะให้ไปเข้าเอกชนเลยก็อาจจะไม่ท้าทาย
งั้นก็ขอลองสอบสาธิตกันสักหน่อย (ได้ก็ถือว่าโชคดีไป ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เตรียม รร. ไว้แล้วค่ะ)
ต้องบอกก่อนนะคะว่า อันนี้เป็นความตั้งใจของของครอบครัว แต่ไม่กดดันลูกค่ะ
เพราะค่อยๆ ใส่กันมาเรื่อยๆ ตัวนุ้ยเอง ตอนนี้ก็ค่อยๆ ซื้อหนังสือติวไปเรื่อยๆ ค่ะ
คนนั้นบอกบ้าง คนนี้ส่งรายชื่อมาให้บ้าง หาเองบ้าง
เยอะมากจริงๆ จนตัวเองก็งงๆ ค่ะ ดูๆ ไปมันก็คล้ายๆ กันไปหมด
ครั้นจะซื้อหมดเลยก็คงจะไม่มีทาง
ตอนนี้ก็เลยตัดสินใจว่า เอาล่ะ เอาแต่ที่หาได้ในหนังสือก่อน ติวกันแค่ อ. ๑ – อ.๒ ก่อนละกัน
เล่มไหนหาไม่ได้ก็ค่อยๆ หาต่อไป ซื้อมาเยอะก็ไม่ไหว บางเล่มก็ยากซะจนท้อ (คนที่ท้อคือแม่นะคะ)
นุ้ยเองก็ไม่ได้เก่งมาก สมองก็ไม่ได้ดี เชาว์ก็ไม่ค่อยได้เรื่อง ก็เพิ่งมาหัดเล่นแบบฝึกหัดไปกับลูกนี่แหล่ะค่ะ

จริงๆ แล้ว ตอนนี้นุ้ยก็ท้อค่ะ สับสนบ้าง เพราะคิดว่า เราต้องยัดลูกขนาดนี้เลยหรือ
แล้วสมองลูกจะรับไหวไหมเค้าก็เริ่มออกอาการเบื่อบ้าง
แต่นุ้ยก็คงความคิดเดิมไว้ค่ะ เบื่อก็ไม่ติวต่อ ไปเล่นซะ แล้วค่อยเริ่มใหม่ ไม่รู้ว่าจะ
ได้เรื่องหรือเปล่า เจ้าตัวเล็ก เค้าก็เป็นตามอารมณ์ค่ะ บางวันก็ทำเยอะ บางวันก็ไม่ทำเลย
เด็กเล็กจะไปกำหนดมากก็ไม่ได้ค่ะก็คงต้องคอยดูต่อไปค่ะ ว่าจะได้ผลอย่างไร
แต่ตัวแม่เองคนติวนี่แหล่ะค่ะ เครียดดีแท้ ก็อยากให้สอบได้ แต่อย่างไรเสีย
ถ้าเมื่อไหร่ที่เราเครียดลูกเราก็จะเครียดตามไปด้วย นุ้ยเลยเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองใหม่
ติวมันไปเรื่อยๆ เอาให้สนุกดีกว่าและค่อยๆ ที่จะไม่หวังผล คิดง่ายๆ
แค่ให้สมองลูกเราได้ทำงานเพิ่มขึ้นหน่อย ใช้เวลาตอนปิดเทอมให้เป็นประโยชน์
ขอกำลังใจและแรงเชียร์ด้วยนะคะ คนที่จะหมดแรงติวคือ ตัวแม่ค่ะ เจ๊ไม่รู้ว่าจะดันไหวหรือเปล่า
ต้องลองติดตามกันต่อไป

นุ้ยชื่นชมคุณแม่ ทุกๆ ท่านที่ติวลูกเองนะคะ สอบได้หรือไม่ได้ ไม่ใช่คำตอบที่สำคัญ
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เราได้เรียนรู้ไปกับลูก และเห็นพัฒนาการของเค้าอย่างใกล้ชิดค่ะ
คุณแม่ท่านใด เคยมีประสบการณ์นี้ แชร์กันได้นะคะ นุ้ยเองก็มือใหม่ค่ะ
และก็ไม่อยากไปเสียเงินกับสถาบันติวด้วยค่ะ มีเทคนิคอะไรพอจะแบ่งปันกันได้ ก็ยินดีนะคะ

ตัวอย่างหนังสือที่ซื้อหามาและใช้ติวกันไปแล้วบ้าง (ที่บ้านจะเรียกว่าเล่นแบบฝึกหัดค่ะ)
















นุ้ยจะค่อยๆ เล่นนะคะ ที่ลงให้ดูนั้น เริ่มเล่นตั้งแต่ต้นข้าวสักสองขวบ จนถึงปัจจุบัน (๔ ขวบค่ะ) ไม่รีบค่ะ อันไหนชอบก็จะเล่นบ่อย ลบแล้วก็เล่น อันไหนยากก็ค่อยๆ เล่นไปค่ะ ไม่เร่งค่ะ เอาสนุกและเค้าชอบเป็นหลัก

Sunday, March 3, 2013

Ready for Kindergarten: Readiness


Ready for Kindergarten: Readiness

What is School Readiness?
·        School readiness means having the ability to learn and cope with the school environment without undue stress.
·        A child's intelligence plays only a minor role in his or her ability to cope with the school day.
Characteristics of Children Ready For Kindergarten

Social Emotional
·        Ready to separate from family
·        Ready to trust adults in school
·        Ready to learn how to share
·        Ready to learn how to wait
·        Ready to assume responsibility and independence
·        Ready to handle situations, emotions, fears
·        Ready to follow teacher's agenda

Intellectual
·        Interested in print, alphabet letters
·        Interested in listening to stories and music
·        Eager to learn and to engage in new activities
·        Interested in talking about ideas
·        Interested in math concepts- number, comparisons, shapes

Motor/Neurological
·        Ready to hold writing tools
·        Ready to use scissors
·        Ready to button, zip own clothing
·        Ready to attend to tasks for 15-20 minutes
(credit: Beal Early Childhood centre)


Is Your Child Ready for Kindergarten?


Is Your Child Ready for Kindergarten?

Starting kindergarten is a big step – and an exciting rite of passage – for young children (and their parents). You love your child and want him to get off to a good start in school. Maybe you have doubts about his development, or you simply don’t know what will be required of him in the kindergarten classroom.
Below are some of the key developmental milestones a child will ideally have reached by the time he starts kindergarten. These requirements aren’t set in stone, however, and not every child will have mastered every skill by the time he sets foot in the classroom.
Kindergarten readiness involves four areas of development: Intellectual, physical, social/emotional, and self-care.

Intellectual Development
The ABC’s of academic success in kindergarten require that your child:
·        Is interested in books and reading.
·        Holds a book upright and turns the pages.
·        Knows some songs and rhyming games.
·        Identifies some letters (especially those in his name).
·        Identifies labels and signs at home and in the neighborhood.
·        Pretends to read and write.
·        Knows his first and last name, names of family members.
·        Can describe an experience and tell a familiar story.


Physical Development
Kindergarteners use their bodies as well as their brains! To thrive in kindergarten, your child will need both small and large motor skills, such as:
·        Drawing with crayons, pens, and pencils, with control.
·        Copying simple figures and shapes, such as a straight line, circle, and square.
·        Running, jumping, and hopping.
·        Bouncing and catching a ball.


Social and Emotional Development
School and learning involve more than academics. A key to success in kindergarten (and beyond) is being able to get along with others. In kindergarten, your child should be able and willing to:
·       Listen to an adult and follow simple directions.
·        Cooperate and play well with other children.
·        Sit still for short periods (15 minutes or less).


Taking Care of Personal Needs
Taking care of one’s personal needs is not only practical, it’s also a sign of independence and growth. And, for most young children, it’s a source of great pride! To start kindergarten, your child should be able to:
·        Use the bathroom without assistance.
·        Wash his hands.
·        Eat without help, using utensils.
·        Dress himself and work snaps, buttons, and zippers
·        Tie his shoes.
·        Recognize his own belongings (such as a jacket or lunchbox).


Want more details? Check out this kindergarten readiness checklist
How You Can Help Your Preschooler Gear Up For Kindergarten
As your child’s first teacher – and her loving parent – you’re in a perfect position to prepare her for kindergarten. If she attends preschool, make sure she’s in a program that provides a fun and stimulating learning environment. Whether she’s in preschool or not, you can help her grow if you:
 Read to your child daily. Visit your public library for children’s story hour, and borrow books to enjoy together at home. Snuggle up and read bedtime stories.
·        Build her vocabulary with everyday conversation. Discuss your daily routines, interesting experiences, and feelings. Listen to what she says, and correct her gently when necessary. Avoid using “baby talk.”
·        Support her “social/emotional I.Q.” Classroom learning will require your child to listen and follow directions and cooperate with others. She’ll also need to manage her emotions – and be sensitive to the feelings of others. Be sure you provide clear guidance in these skills, and let her practice them one-on-one (with a sibling or friend) and in groups (both formal and informal).
·        Let your child play and create. Whether it’s exploring outdoors, building a castle out of Lego’s, or finger painting, play is a critical to developing your child’s imagination, creativity, critical thinking skills, and problem-solving ability.









Let the Professionals Weigh In
If you have any questions or concerns about your child’s readiness to start kindergarten, don’t think you have to go it alone. If your child attends preschool, her teachers should be able to help you decide whether she needs extra time or special help to prepare. And your child’s pediatrician can also be a source of insight and information regarding your child’s development. Credit: KristinStanberry Education.com

Homeschool/ บ้านเรียน


Homeschooling

Homeschooling or homeschool (also called home education or home based learning) is the education of children at home, typically by parents or by tutors, rather than in other formal settings of public or private school. Although prior to the introduction of compulsory school attendance laws, most childhood education occurred within the family or community, homeschooling in the modern sense is an alternative in developed countries to attending public or private schools. Homeschooling is a legal option for parents in many countries, allowing them to provide their children with a learning environment as an alternative to public or private schools outside the individual's home.



Parents cite numerous reasons as motivations to homeschool their children. The three reasons that are selected by the majority of homeschooling parents in the United States are concern about the school environment, to provide religious or moral instruction, and dissatisfaction with academic instruction at public and private schools. Homeschooling may also be a factor in the choice of parenting style. Homeschooling can be an option for families living in isolated rural locations, living temporarily abroad, to allow for more traveling, while many young athletes and actors are taught at home. Homeschooling can be about mentorship and apprenticeship, where a tutor or teacher is with the child for many years and then knows the child very well.

Homeschooling can be used as a form of supplementary education, a way of helping children learn, in specific circumstances. For instance, children that attend downgraded schools can greatly benefit from homeschooling ways of learning, using the immediacy and low cost of the Internet. As a synonym to e-learning, homeschooling can be combined with traditional education and lead to better and more complete results. Homeschooling may also refer to instruction in the home under the supervision of correspondence schools or umbrella schools. In some places, an approvedcurriculum is legally required if children are to be home-schooled. A curriculum-free philosophy of homeschooling may be called unschooling, a term coined in 1977 by American educator and author John Holt in his magazine Growing Without Schooling. In some cases, a liberal arts education is provided using the trivium and quadrivium as the main model. 
(credit: http://en.wikipedia.org/wiki/Homeschooling



การศึกษาแบบโฮมสกูล หรือ การศึกษาแบบบ้านเรียน

นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ.   2542   ประกาศใช้   การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นสิทธิโดยถูกต้องตามมาตรา   12   ที่ให้ครอบครัวจัดการศึกษา   ขั้นพื้นฐานได้   เป็นทางเลือกของครอบครัว   ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง   หากไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าโรงเรียน   โดยสภาพความเป็นจริงการจัดการโดยครอบครัว   ได้มีการดำเนินงานมาบ้างแล้วก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   แม้จะมีจำนวนไม่มาก   เท่าที่มีข้อมูลประมาณ   2-3   ครอบครัว  
      หลังจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   ประกาศใช้   การดำเนินงานในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศ   เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับประเทศไทย   พร้อมทั้งได้มีครอบครัวที่ตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาให้ลูก   ตามสิทธิที่ครอบครัวได้รับโดยถูกต้องตามกฎหมาย   ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   มาตรา   12   สิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวนี้   จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง   กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน   โดยครอบครัวอยู่ระหว่างดำเนินการ   โดยกระทรวงศึกษาธิการ

ความหมาย
การศึกษาโดยครอบครัว   หมายถึง   การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบครัวจัดโดยสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย   ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบ   ของการศึกษาในระบบ   การศึกษานอกระบบ   และการศึกษาตามอัธยาศัย   อย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้
ลักษณะเด่น



การจัดการศึกษาโดยครอบครัวของไทยมีลักษณะเด่น   5   ประการ   ดังนี้
1.   เป็นการจัดการศึกษาที่พ่อแม่   หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง   เป็นการจัดการศึกษาเองทั้งหมด   หรือโดยมีข้อตกลงจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างครอบครัวกับโรงเรียน   อาจเป็นผู้สอนด้วยตนเอง   หรืออำนวยการให้เกิดการเรียนการสอนขึ้น
2.   มีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนครอบครัวเดี่ยว   หรือศูนย์การเรียนกลุ่มครอบครัว   (บางครอบครัวอาจเลือกที่จะไม่เป็นศูนย์การเรียนก็เป็นไปได้)
3.   สาระและกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ   ที่จัดขึ้น   เป็นไปในทางตอบสนองต่อปรัชญา   ทัศนะ   ความเชื่อ   ความสนใจ   ความต้องการหรือปัญหาของแต่ละครอบครัว   จึงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีความแตกต่างหลากหลายกันไป   มีความยืดหยุ่นเป็นอิสระ
4.   ความสำเร็จของการศึกษา   มุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล   อย่างพยายามให้สอดคล้องกับความถนัด   ความสนใจ   และความต้องการที่มีอยู่จริง   จากการเป็นหน่วยการศึกษาขนาดเล็กที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบตัวต่อตัว   และผสมผสานไปกับวิถีการดำเนินชีวิต
5.   ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นกิจการทางธุรกิจเพื่อผลกำไร   และไม่เป็นไปเพื่อการแอบอ้างแสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก  



รูปแบบการดำเนินงาน
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว   รูปแบบการดำเนินงานมีดังนี้   
1.   การดำเนินงานโดยครอบครัวเดี่ยว   ในช่วงแรกๆ   ที่ผ่านมา   รูปแบบจะเป็นไปในลักษณะนี้   เนื่องจากสถานการณ์แวดล้อมที่ทำให้ต้องเป็นไปในลักษณะเช่นนี้   การดำเนินงานมีความเป็นปัจเจกค่อนข้างสูง   หลักสูตร   กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปตามวิถีสภาพแวดล้อมของครอบครัว   ความคิด   ความเชื่อ   ความสนใจ   มีความหลากหลายแตกต่างกัน   มีลักษณะเฉพาะของแต่ละครอบครัวค่อนข้างสูง   แต่ขณะเดียวกันก็มีสังคมกลุ่มเพื่อนมีความเชื่อมโยง   เกิดกิจกรรมที่นำไปสู่การจัดการศึกษาร่วมกัน   เช่น   ครอบครัวพึ่งอุดม
2.   การดำเนินงานโดยกลุ่มครอบครัวข่ายประสานงาน   ลักษณะการดำเนินงานหลายครอบครัวร่วมกันดำเนินงานในบางกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง   แต่ขณะเดียวกันมีอิสระในวิถีของตัวเอง   มีการจัดการศึกษาทั้งที่บ้านของแต่ละครอบครัว   พร้อมไปกับการจัดการศึกษาร่วมกันของกลุ่มตามที่นัดหมาย   มีการบริหารจัดการที่กระจายไปแต่ละครอบครัว   มากกว่ารวมศูนย์การบริหารอยู่ที่เดียว   เช่น   กลุ่มบ้านเรียนปัญญากร
3.   การดำเนินงานโดยกลุ่มครอบครัว   แบบรวมศูนย์การจัดการในที่เดียว   ครอบครัวหลายครอบครัวรวมกันจัดการศึกษา   ในที่แห่งหนึ่ง   มีคณะครอบครัวทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกำกับดูแลในเรื่องนโยบายและการบริหารจัดการ   การดำเนินงานมีการมอบหมาย   หรือจ้างคณะทำงาน   ทำหน้าที่บริหารจัดการ   มีความต่างจากโรงเรียนดังนี้
     3.1   เป็นโรงเรียนของครอบครัว   ครอบครัวเป็นเจ้าของโดยมีแนวความเชื่อ   จุดมุ่งหมาย   ปรัชญาการศึกษา   ยึดถือร่วมกัน
     3.2   เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก   จัดให้เฉพาะลูกหลานในกลุ่ม   ในปริมาณไม่มากนัก
     3.3   เป็นโรงเรียนแบบการกุศล   ไม่มุ่งแสวงหากำไร
     รูปแบบนี้   แต่ละครอบครัวยังไม่พร้อมที่จะจัดการศึกษาด้วยตัวเองได้   ทั้งหมด   เช่น   สถาบันปัญโญทัย   (นายแพทย์พร   พันธุ์โอสถ   เป็นแกน)   การดำเนินงานรูปแบบนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นการจัดการศึกษาโดยชุมชน   หรือองค์กรสังคม
4.   ดำเนินการจัดการศึกษาโดยมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียน   ครอบครัวได้จัดการศึกษาโดยมีข้อตกลงร่วมกันกับทางโรงเรียน   ในด้านการบริหารจัดการ   หลักสูตร   การเรียนการสอน   เป็นบทบาทของครอบครัว   การวัดประเมินผลร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว   โดยโรงเรียนออกใบรับรองให้กับผู้เรียน   พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้สถานที่   ห้องปฏิบัติการ   อุปกรณ์การเรียนการสอน   การจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร   ตลอดจนใช้สถานที่ในการพบปะสังสรรค์   มีกิจกรรมสังคมร่วมกับคณะคณาจารย์และนักเรียนในโรงเรียน   การดำเนินงานรูปแบบนี้ครอบครัวและโรงเรียนได้มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   เช่น   กลุ่มครอบครัวบ้านเรียนชวนชื่น  





การเรียนการสอน

การจัดการศึกษาโดยครอบครัว   มีการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนอันได้แก่   รูปแบบการจัดการศึกษา   หลักสูตร   การประเมินผล   ดังนี้
1.   รูปแบบการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว   ได้มีการจัดการศึกษาทั้ง   3   รูปแบบ   คือ   การศึกษาในระบบ   การศึกษานอกระบบ   การศึกษาตามอัธยาศัย   ซึ่งมีทั้งที่เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง   หรือทั้งสามรูปแบบผสมผสานกัน   ในสังคมส่วนใหญ่มีลักษณะผสมผสาน   ค่อนไปในเป็นการศึกษานอกระบบ   และการศึกษาตามอัธยาศัย   ทั้งนี้เป็นไปตามรูปแบบการจัดการศึกษาที่แต่ละครอบครัวเลือก   กล่าวคือ
     1.1   ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาแบบการศึกษาในระบบ   จะมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย   วิธีการศึกษา   หลักสูตร   ระยะเวลาการศึกษา   การวัดประเมินผลตามเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
     1.2   ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาแบบนอกระบบ   มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย   วิธีการศึกษา   หลักสูตร   ระยะเวลา   การวัดประเมินผล   อย่างยืดหยุ่น   สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของแต่ละครอบครัว
     1.3   ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาตามอัธยาศัย   การกำหนดจุดมุ่งหมาย   วิธีการศึกษา   หลักสูตร   ระยะเวลา   การวัดประเมินผล   ยิ่งมีความยืดหยุ่นและมีอิสระมากขึ้น   เป็นไปตามความสนใจ   ศักยภาพ   ความพร้อมและโอกาส   สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

2.   หลักสูตร
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว   กำหนดหลักการและความมุ่งหมายการจัดสาระการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของผู้เรียน   การกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้จึงมีความยืดหยุ่น   การดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นใช้เนื้อหาสาระหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ   ควบคู่ไปกับหลักสูตรโรงเรียนสาธิต   โรงเรียนนานาชาติ   หรือต่างประเทศ   โดยยืดหยุ่นเป็นไปตามความพร้อมและความสนใจของลูกเป็นสำคัญ
ต่อมาได้มีการพัฒนา   ด้วยการสร้างหลักสูตรของครอบครัว   มีการกำหนดกรอบกว้างๆ   ที่เป็นความตกลงและเตรียมการร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูก   โดยให้ความสำคัญกับองค์ความรู้   หรือกระบวนการเรียนรู้หลายๆ   สายผสมผสานกัน   ที่สามารถหล่อหลอมคุณลักษณะการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าตัวความรู้   ให้ใฝ่รักการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ให้สามารถสร้างเสริมความรู้ได้ตลอดชีวิต   มากกว่าความรู้อย่างเป็นส่วนๆ
การเรียนรู้ของครอบครัวเกิดขึ้นได้ทุกเวลา   ทุกสภาพการณ์   อย่างเป็นธรรมชาติ   แทรกซึมในวิถีชีวิต   การเรียนรู้เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก
หลักสูตร   Home   School   มีลักษณะสังเขป   ดังนี้
     -   ขอบเขตเนื้อหาวิชาไม่ต่างไปจากหลักสูตรปกติ
     -   ข้อแตกต่างสำคัญอยู่ที่กระบวนการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น
     -   มีการจัดประสบการณ์เสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
     -   มีกิจกรรมนอกบ้านเป็นองค์ประกอบสำคัญ
     -   มีการใช้ประโยชน์จากิจกรรมเครือข่ายพ่อแม่   Home   School

3.   การประเมินผล
การประเมินผลการจัดการศึกษาโดยครอบครัว   มีการประเมินผลอย่างเป็นทางการ   ที่ปฏิบัติอยู่   ดังนี้
1.   ครอบครัวที่ลูกอยู่ในระดับการศึกษาภาคบังคับ   นำชื่อลูกไปฝากไว้กับโรงเรียน   โรงเรียนได้ดำเนินการวัดผล   ประเมินผล   มีการสอบเลื่อนระดับชั้นร่วมกับนักเรียนของโรงเรียน   สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่   6   จากการเข้าสอบไล่และใช้ข้อสอบเดียวกับโรงเรียน
2.   ครอบครัวที่ลูกโตกว่าระดับการศึกษาภาคบังคับ   ใช้วิธีการเข้ากลุ่มเรียนเสริมและสอบเทียบกับการศึกษานอกระบบ   ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม   แนวทางการประเมินผลของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว   มีหลักความคิดที่สำคัญ   ดังนี้
     -   มุ่งพัฒนาการของเด็กอย่างแท้จริง
     -   ใหัความสำคัญกับพัฒนาการเป็นรายบุคคลเพื่อให้เด็กได้ค้นพบวิถีทางพัฒนาตัวเอง
     -   เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการประเมินผลตัวเองด้วย
     -   ให้ความสำคัญในการประเมินจากสภาพจริง   มากกว่าการสอบ   การใช้แบบทดสอบ
     -   มีความต่อเนื่องเห็นตลอดทั้งกระบวนการมากกว่าเพียงชิ้นงานที่เป็น   ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย
     -   มีความหลากหลายในวิธีการ   ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ   ตามหลักที่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นการเรียนรู้และสามารถใช้เป็นประจักษ์พยานแสดงผลของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
     -   การสังเกตลูกอย่างใกล้ชิดและมีสัมผัสความเป็นพ่อแม่   เป็นวิธีการที่เป็นธรรมชาติ   เกิดขึ้นจริง   และได้ผลมากที่สุด   ของการประเมินพัฒนาการของลูกภายในครอบครัว  
หลักฐานแสดงผลการศึกษา
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว   มีหลักฐานที่แสดงผลการศึกษาของเด็กที่เป็นรูปธรรม   ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
     -   สมุดบันทึก   และแฟ้มสะสมงานของพ่อแม่   แสดงปัญหา   การแก้ปัญหา   การพัฒนาการเรียนการสอน   และพัฒนาการของผู้เรียนรายบุคคล   เป็นต้น
     -   แฟ้มสะสมงานของลูก   ในทุกประสบการณ์การเรียนรู้และเนื้อหาความรู้
     -   สมุดบันทึกของลูก   เช่น   บันทึกส่วนตัว   (ทัศนะ   ประสบการณ์ใหม่   เจตจำนง)   บันทึกแหล่งเรียนรู้   (จากการเดินทาง   ทัศนศึกษา)   สมุดภาพ   เป็นต้น
     -   ผลงานที่นำเสนอในการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน   ทั้งโดยบุคคลและโดยกลุ่ม  
แนวทางการดำเนินงาน




          ครอบครัวที่ตัดสินใจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับลูกจะต้องนำชื่อลูกไปจดทะเบียนกับโรงเรียนที่ยินดีรับ   ทั้งนี้ด้วยพระราชบัญญัติการประถมศึกษา   ได้ระบุว่าเด็กอายุครบ   6   ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าโรงเรียน   เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันเด็กทุกคนที่มีอายุครบ   6   ปีบริบูรณ์จึงต้องมีชื่ออยู่ในโรงเรียน   การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นสิทธิที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   แต่สิทธิที่ได้รับนี้จะต้องมีกฎกระทรวงรองรับ   ดังนั้นในช่วงที่กฎกระทรวงยังไม่ได้มีผลบังคับใช้   การดำเนินงานจึงจำเป็นต้องให้สอดคล้องกับระเบียบ   กฎ   ต่างๆ   ที่ใช้บังคับอยู่


          การที่เด็กขึ้นทะเบียนกับโรงเรียน   ก็ต้องมีความตกลงร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว   ในเรื่องการเรียนการสอน   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้   การวัดประเมินผล   รวมทั้งหลักฐานการเรียนที่จำเป็น





ปัจจุบันมีโรงเรียนที่รับ   Home   School   จดทะเบียน   มี   2   แห่ง   ได้แก่
1.   โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก   ต.วังด้ง   อ.เมือง   จ.กาญจนบุรี   71190
2.   โรงเรียนสัตยาไส   ต.ลำนารายณ์   อ.ชัยบาดาล   จ.ลพบุรี   (เริ่มรับครอบครัวจดทะเบียน  
ปีการศึกษา   2545)  
จำนวนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว   ปัจจุบันมีจำนวน   86   ครอบครัว   เด็กจำนวน   108   คน   

จำนวนที่จดทะเบียนกับโรงเรียนเป็นดังนี้
- โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก   80   ครอบครัว   เด็ก   98   คน