Saturday, December 8, 2012

What's Alternative school? / โรงเรียนทางเลือกคืออะไร


Welcome back to the world of Alternative Education again, which I talked about it last week. In this week, I will keep continuously following up about “What is the Alternative School..?”
Alternative school has provided a special curriculum offering a more flexible program of study than traditional school. It is difficult to explain in a very wide range of philosophies and teaching methods which are offered by alternative schools; some have strong political, scholarly, or philosophical orientations, while others are more ad-hoc assemblies of teachers and students are dissatisfied with some aspect of mainstream or traditional education.
There are four different characters of Alternative Schools that are different from Traditional School:
1.               Totally difference from mainstream education
2.               Education for special children
3.               Diversity
4.               Autonomy
In the normal parental perspective, Alternative School is the school that is different from mainstream school in term of curriculums, teaching method, environment and teachers. Most of alternative schools focus on student/learner differences, and develop them to be both wise and good people. It makes alternative school becomes more advantage than mainstream school. This is very challenge for me to find an answer how alternative school is better than traditional school especially in Thai Education System.
However, alternative school has some limitations. From my survey, it showed that Thai Education System is left behind the alternative school in term of concept, curriculum, evaluation and quality of teachers and learners. That’s why many parents choose alternative school for their children rather than traditional schools.
            Another thing that you need to concern about is the fact that the school fee of alternative school is higher than mainstream school. Please think about your budget before choosing an alternative school for your children. From my survey recently, I have found nine different concepts of alternative schools that are still using in Thailand. 
1.               Montessori Method
2.               Waldorf Method
3.               Neo-Humanist Education
4.               Whole Language
5.               Reggio Emilia Approach
6.               Project Approach
7.               High/Scope Approach
8.               Buddhist  Approach Education /Withi Pud 
9.               Summerhill
For next week, I will first review the Montessori Method. Don’t get bored with me. Please keep staying closer and closer with me until I will have completed all of methods. You will get more knowledge and information for your children. I have spent a lot of time preparing this information for you, so I really want to share with you. I hope you would be enjoy reading my blog, but don't forget to leave your commend or question. Have a nice long weekend.

See you again next week.

กลับมาทักทายกันอีกครั้งในสัปดาห์นี้นะคะ ก็คงเป็นเรื่องต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่า โรงเรียนทางเลือกคืออะไรสัปดาห์ก่อนเราก็ได้คุยกันเรื่องการศึกษาทางเลือกกันไปแล้ว ผู้อ่านก็คงพอจะนึกความหมายกันได้บ้าง งั้นก็มาลุยกันต่อเลยนะคะ โรงเรียนทางเลือก ไปทางไหนก็ได้ยินแต่โรงเรียนทางเลือก แล้วมันคืออะไรนะ นุ้ยมาตอบให้แล้วค่ะ (จากการค้นหาบวกกับสมองอันน้อยนิด สามารถประมวลออกมาตามความเข้าใจของตัวเองได้ดังนี้ค่ะ)
            
โรงเรียนทางเลือก คือ โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามแนวคิดใหม่ ซึ่งปฏิเสธการจัดการศึกษาในระบบที่เป็นรูปแบบเดียวของรัฐ โดยใช้หลักสูตรเหมือนกันๆ มีวิธีสอนแบบเดียวกัน วัดและประเมินผลด้วยระเบียบและวิธีการเดียวกัน ที่เชื่อว่าวิธีการเหล่านี้เป็นการทำลายศักยภาพความเป็นมนุษย์และตัวตนของผู้เรียน (((( (ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ: ๒๕๕๓)      

ลักษณะที่สำคัญของการศึกษาทางเลือกแบ่งเป็น ๔ ลักษณะ
๑. การศึกษาที่แตกต่างจากการศึกษากระแสหลัก
๒. การศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มพิเศษ
๓. การศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย (Diversity)
๔. การศึกษที่มีระดับความเป็นอิสระ (Autonomy)

        สำหรับในมุมมองของผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ทั่วไป รวมถึงตัวนุ้ยเองแล้วนั้น โรงเรียนทางเลือก ก็คือโรงเรียนที่มีความแตกต่างจาก รร. ทั่วไป ทั้งในด้วยหลักสูตร วิธีการสอน บรรยากาศ รวมทั้งครูผู้สอน โดยเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมทางด้านสติปัญญา และจิตใจไปพร้อมๆ กัน นุ้ยคิดว่าเมื่อเขียนมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านก็คงคิดว่า อย่างนี้ โรงเรียนทางเลือกดูจะมีคุณภาพมากกว่า รร. ในระบบปกติใช่หรือไม่ นั่นคือคำถามที่นุ้ยเองก็กำลังหาคำตอบกับระบบการศึกษาของสังคมไทยอยู่เช่นกัน

นุ้ยเองก็ได้เข้าไปสำรวจดูโรงเรียนทางเลือกหลายๆ โรงเรียนเช่นกันก่อนนะส่งลูกเข้า แต่ละที่ก็มีแนวคิดและปรัชญา ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วนั้นก็มุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ชอบวลีนี้ค่ะ)

แต่อย่างไรก็ตาม โรงเรียนทางเลือกก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่างค่ะ เท่าที่นุ้ยสำรวจมาได้ก็จะพบว่า ระบบการศึกษาของรัฐ ตามไม่ทันกับทิศทาง ปรัชญาหรือแนวคิดของโรงเรียนทางเลือก ทั้งในด้านหลักสูตร และการประเมินผล รวมถึงคุณภาพของผู้เรียนและผู้สอนด้วยเช่นกัน รัฐนั้นยังคงมีระบบที่ตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่สนองปรัชญาทางสังคมและผู้เรียนของโรงเรียน ทั้งที่ พรบ. การศึกษาฯ ได้เปิดกว้างไว้แล้วเช่นกัน

ถ้าจะให้กล่าวถึงความเป็นจริงแล้ว ค่าใช้จ่ายในด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือกนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่า ฉะนั้น ค่าธรรมเนียมทางการศึกษาก็จะต้องสูงกว่าปกติด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่จะตัดสินใจส่งลูกเข้าโรงเรียนทางเลือก หรือโรงเรียนในระบบของรัฐ

นุ้ยได้ผ่านช่วงเวลาของการหา รร. ปฐมวัยของลูกมาแล้ว แต่ในตอนนี้ กำลังจะต้องกา รร.ประถมศึกษาให้ลูกต่อไปค่ะ จะส่งเข้าทางเลือกต่อไป หรือว่าจะเอาลูกเข้าเอกชน หรือทางออกสุดท้ายคือการส่งลูกเข้าในระบบของรัฐ ซึ่งก็เป็นที่รู้ๆ กันกว่า อยู่ในขั้นกำลังพัฒนา (ปล. ใจจริงไม่อยากให้ลูกได้แท็ปเลตค่ะ) พูดจากใจจริงนะคะ ยิ่งอ่านมาก ค้นคว้ามาก มีความรู้มาก ความกลัวก็ยิ่งมากขึ้นค่ะ รร. อะไรนะที่เหมาะกับลูกเรา และตอบโจทย์ลูกเรามากที่สุด (ประมาณว่านุ้ยเยอะไปเองค่ะ ถ้าไม่คิดมาก รร. อะไรก็ได้ เหมือนสมัยเราใช่ไหมคะ รร.สพฐ. ก็เรียนมาได้ จบมาได้ แต่ทำไมปัจจุบัน เราจึงมีคำถามมากมายกับ รร. ในระบบ)

ออกนอกเรื่องมาซะหลายย่อหน้า กลับมาต่อแล้วค่ะ แล้วโรงเรียนทางเลือกมีกี่แบบนะ เท่าที่นุ้ยสำรวจมาได้นะคะ ก็จะมีดังนี้ค่ะ
๑. การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
๒. การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf Method)
๓. การเรียนการสอนแบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ (Neo-Humanist Education)
๔. การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ (Whole Language)
๕. การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมิเลีย (Reggio Emilia Approach)
๖. การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
๗. การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป (High/Scope Approach)
๘. การเรียนการสอนแบบวิถีพุทธ
๙. ซัมเมอร์ฮิลล์ (Summerhill) หมู่บ้านเด็ก

ครั้งแรกที่อ่านเจอข้อมูลเกี่ยวโรงเรียนทางเลือก โอ้โหมีตั้งมากมายหลายแบบ แล้วเราจะเลือกแบบไหนให้ลูกดีล่ะ แล้วแต่ละแบบเป็นยังไง อ่านกันเข้าไป เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง บางครั้งก็ได้ยินว่า รร. นั้นดี รร. นี้ดี ก็หาข้อมูลกันหน่อยซิว่าเป็นยังไง กว่าจะตัดสินใจได้ก็เกือบปี เยอะไปไหมคะสำหรับแม่คนนี้ แต่นุ้ยบอกจุดยืนกับที่บ้านอย่างชัดเจนเลยค่ะ ว่าจะไม่ให้ลูกเข้า รร. ที่เร่งอ่านเขียน อย่างดีก็แค่เตรียมความพร้อมหรือโรงเรียนทางเลือกค่ะ อาจจะขัดกับพ่อแม่บางท่านนะคะ แต่นุ้ยก็สามารถรับฟังความคิดเห็นของทุกๆ ท่านได้ค่ะ เพราะเป็นวิทยาทานเพิ่มความรู้ให้แก่เรา

        สัปดาห์หน้าจะมารีวิว การเรียนการสอนแบบแรกกันนะคะ คือแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method)อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ อยู่เป็นกำลังใจกันอีก ๙ สัปดาห์ ดูนานมากเลยใช่ไหม นุ้ยก็หาข้อมูลมานานมากเหมือนกันค่ะ อยากแบ่งปันกันนะคะ อาจจะมีความรู้สึกตัวเองใส่ลงไปบ้าง ก็อย่าได้ถือสานะคะ


นุ้ยตั้งใจไว้ว่าถ้าจบการเขียนเกี่ยวกับ รร. ทางเลือกแล้ว ก็จะเขียนเกี่ยวกับ รร.สาธิตค่ะ เพราะอยากรู้เหมือนกันว่า รร. สาธิตดีอยางไร ทำไมผู้ปกครองหรือ พ่อแม่ อยากจะส่งลูกเข้าไปเรียนกันมากนัก เสียเท่าไหร่ก็ยอม มันช่างน่าสงสัยเสียจริง ก็เป็นปัญหาที่นุ้ยจะหาคำตอบต่อไปค่ะ ไว้พบกันสัปดาห์หน้าค่ะ

ปล. อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ

ถ้าท่านใดสนใจเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกสมารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่