Wednesday, January 30, 2013

Waldorf Education / วอลดอร์ฟ


Waldorf Education (May and Nordwall, www.waldorfanswer.com, retrieved in 2012 )

  Waldorf Education began in the spring of 1919 in Stuttgart, Germany, after the ravages of World War I, by Rudof Steiner, the founder of Anthroposophy. He had lectured to the worker of various factories in Stuttgart, including those of the Waldorf Astoria Cigarette factory.

Waldorf education in base on an anthropological view and understanding of human being, that is as a being of body, soul and spirit. The central focus for the Waldorf teacher of the development of that essence in every person that is independent of external appearance by instilling in his or her pupils and understanding of and appreciation for their back ground and places in the world. The goal of Waldorf is to enable students as fully as possible to choose and in freedom, to realize their individual path through life as adults.

When children relate what they learn to their own experience, they are interested and alive, and what they learn becomes their own. Waldorf schools are designed to foster this kind of learning.—Henry Barnes, a longtime Waldorf teacher and the former Chairman of the Board of AWSNA
This message above can identify my perspective about Waldorf Education. 

การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
โรงเรียนวอลดอฟ์แห่งแรกจัดตั้นขึ้นโดยผู้อำนวยการโรงงานยาสูบวอล์ดอร์ฟ-แอสโทเรีย ที่เมืองสตุทการ์ท ประเทศเยอรมันนี โดยผู้อำนวยการได้ขอร้องให้รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ผู้ก่อตั้งแนวทางมนุษยปรัชญา และเป็นผู้มีบทบาทโดดเด่นด้านการเคลื่อนไหวฟื้นฟูบูรณะสังคม มาเป็นผู้วางแผนการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของกรรมกรในโรงงานยาสูบแห่งนี้ เพื่อให้เป็น “สถานที่ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตได้”

การเรียนการสอนแนนวนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามแนวมนุษย์ปรัญา เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ และมีความเชื่อว่าการศึกษา คือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจ โดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี สิ่งที่เด็กได้สัมผัสคือธรรมชาติที่บริสุททธิ์ และเน้นว่าควนให้เวลากับช่วงวัยเด็กให้มากไม่ใช่ลดเวลาวัยเด็กให้เป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าปกติ
การศึกษาในแนวนี้นั้น ยังสอนให้รู้จักสุดยืนที่สมดุลของตนเองในการใช้ชีวิตบนโลก โดยผ่านกิจกรรม ๓ อย่างคือ กิจกรรมทางกาย หรือการกระทำ กิจกรรมทางอารมณ์ความรู้สึก และกิจกรรมผ่านความคิดหรือสมอง เน้นให้เด็กได้ใช้พลังงานทุกๆ ด้าน แนวการสอนนั้นจะสอนตามพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะวัน ๐-๗ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางกายมาก จึงเน้นไปที่การเล่น เพื่อพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆ เด็กจะได้เป็นผู้ลงมือกระทำ 


ตัวอย่างการจัดกิจกรรม เช่น เด็กๆ ลงมือทำขนมปังเอง เด็กทุกคนจะเห็นกระบวนการตั้งแต่แรก เริ่มจากนำข้าเปลือกมาสีให้เป็นข้าวขาวด้วยเครื่งอสีข้าว ได้โม่ข้าวด้วยเครื่องโม่ พอเป็นแป้งก็นำไปนวด และก็นำไปอบเป็นขนมปัง ซึ่งวิธีการดั่งกล่าวจะเสริมสร้างความอดทนและปลูกฝังให้เด็กสำนึกใรบุญคุณต่อสิ่งที่ได้รับจากธรรมชาติและมนุษย์ แทนที่จะบริโภคอย่างฉาบฉวย และเด็กก็ยังเห็ฯถึงคุณค่าของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยเช่นกัน
นุ้ยเขียนมาถึงตรงนี้แล้ว พ่อแม่บางท่านที่ได้อ่านอาจจะคิดไปได้ว่า การศึกษาแบบนี้ ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ได้ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองจัดเองก็ได้ แล้วจะได้ผลกับลูกจริงหรือ นุ้ยมีบทสัมภาษณ์ของ นพ. พร
พันธุ์โอสถ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปัญโญทัย ที่เน้นการศึกษาแบบวอลดอร์ฟมาฝากกันนะคะ
“เราพยายามให้เด็กเห็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้เข้าใจในแนวทางพื้นฐานใรการปรับตัวเข้ากับชีวิต และกระตุ้นความร่วมมือของเด็ก การเรียนรู้ทุกอย่างจึงต้องเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาเหมือนกันเป็นประสบการณ์จริงของเขา ให้เขาได้สนใจหลายๆ ด้าน จุดนนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับเด็กๆ ว่าเขาสามารถทำได้”




แต่ก็อีกเช่นกันการศึกษาก็เหมือนกับเหรียญมันก็มีสองด้าน นุ้ยเองก็มีข้อชวนคิดมาฝากพ่อแม่ และผู้ปกครองเช่นกันนะคะ สำหรับการศึกษาในแนวนี้ การศึกษาแบบวอลดอร์ฟเป็นการสอนเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ดึ้งส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การนำวิธีการสอนแบบนี้มาใช้นั้นก็จำเป็นต้อนำทั้งระบบการศึกษาไปใช้ ไม่ใช่นำเพียงบางรูปแบบมาใช้ แล้วอ้านตนเองว่าสอนแบบวอลดอลร์ฟ ซึ่งพ่อแม่ก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยนะคะ
ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีโรงเรียนที่สอนแนววอลดอร์ฟเต็มรูปแบบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นค่ะ เช่น โรงเรียนปัญโญทัย โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก และโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ

ในความคิดเห็นส่วนตัวของนุ้ยนั้น นุ้ยเองก็ชอบการศึกษาแนวทางนี้อยู่เช่นกัน มันเป็นการปลูกฝังด้านคุณธรรม และจริยธรรมให้กับเด็ก เด็กที่ได้รับการศึกษาแนวนี้ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน เป็นเค้ามีจิตใจดี มองโลกในแง่ดี มันก็จะส่งผลต่อการเรียน เค้าพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ จึงทำให้เค้ารักการเรียนรู้ และเมื่อพิจารณาถึงคนที่มีศักยาภาพสูง ที่เป็นคนเก่งและดี โดนส่วนมากแล้วเค้าจะได้รับการศึกษาแนวทางนี้ทั้งนั้น ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าการศึกษารูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยาภาพด้านการศึกษาที่สูง



เมื่อกลับมามองประเทศไทยเราเอง เราเองก็ยังยึดที่จะให้ลูกหลานเรียนเก่ง เรียนแต่วิชาการ เรียนพิเศษทั้งเสาร์ และอาทิตย์ ไม่มีวันหยุด นี่หรือคือทางออกของการศึกษาไทย แม้แต่การศึกษาในระบบก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์และความต้องการของผู้ปกครองได้เลย ประเทศที่เค้าเจริญแล้วนั้น เค้าเคยล้มเหลวทางด้านการศึกษาโดยยัดวิชาการให้กับเด็ก แต่แท้จริงแล้ว การศึกษานั้นจะต้องพัฒนาที่ตัวเด็ก เมื่อเด็กพร้อมเรียนรู้ เต็มใจ และอยากที่จะเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็ต้องสูงขึ้นตามมา แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังทำอยู่นี้ คือการนำกระบวนการด้านลบของการศึกษาในประเทศที่เจริญแล้วมาใช้ ประเทศไม่ใช่ตัวอย่างการทดลอง เด็กนักเรียนไทยไม่ใช่เครื่องมือทดสอบผลงานของรัฐนมตรีกระทรวงศึกษา ฉะนั้น ก็ที่ท่านจะมีนโยบายหรือทำอะไรกับระบบการศึกษาก็ขอให้พิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบคือเด็กที่จะเติบโตเป็นประชากรของประเทศต่อไป
สัปดาห์นี้แม่นุ้ยอาจจะดูเก็บกดเรื่องนโยบายด้านการศึกษา และข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ซึ่งแต่ละอย่างนั้น ไม่ได้ดั่งใจเลย ไม่ทราบว่ากระทรวงใช้สมองส่วนไหนคิดและออกนโยบาย แรงไปไหมเนี่ย แต่มันก็ไม่ไหวจริงๆ นะคะ แต่อย่างไรก็ตามนุ้ยก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ถ้าบทความนี้ล่วงเกินหรือพาดพิงผู้ใด ไม่มีใครว่าจ้างให้เขียนค่ะ เขียนมาจากมันสมองและสองมือนี้เท่านั้น เป็นความคิดส่วนตัวทั้งสิ้นค่ะ เจอกันใหม่เร็วๆ นี้นะคะ
ปล. คราวหน้าจะเขียนเกี่ยวกับการสอบแบบนีโอฮิวแมนนิสต์ ที่ใครๆ ก็อยากส่งลูกเข้าไปเรียน แต่จับฉลากไม่ได้สักที จะทำยังไงดี มีรูปมากฝากแยะด้วยค่ะ อย่าลืมติดตามกันนะคะ



Tuesday, January 1, 2013

Montessori / มอนเตสซอรี่


Montessori
Montessori is a revolutionary method do observing and supporting the natural development of children that developed by Maria Montessori, MD in 1907.

Montessori educational practice helps children develop creativity, problem solving, critical thinking and time management skill, care of environment and each other, and prepare them to contribute to society and to become fulfilled persons. The basis of Montessori practice in the classroom is mixed age group (3-6 ages in one class), individual choice of research and work and uninterrupted concentration. Group lessons are seldom found in a Montessori classroom. But learning abounds, and because it is enjoyed, children remember what they learn. (www.montessori.edu)

In my personal experience of Montessori, I am not familiar with this method. It might be not popular for the majority of parents in Thailand and there is limitation of this method; however I also search for the information of this kind of school that use this method for teaching. During I have searched for the schools, I found that there are some of parents interested in this method and they also have their own group for teaching their children by themselves with Montessori. They provide all of the teaching method by themselves too. I had joined for this group a few times, I found that I liked this teaching method but it was not the last answer yet for my kids. 

Schooling for the children, it is very sensitive issue for parents. There are many factors that involves in schooling. When parents make a decision for their kinds, they must accept all the affect that will happen after their choosing. Your kinds’ future are in your hand, please be aware before schooling for your kids.

Ps. Regarding to all my comment above, it is only my personal reflection. Please do not refer my reflection to all any schools or any groups that use Montessori.


มอนเตสซอริ (Montessori)
แนวคิดการศึกษาแบบมอนเตสซอริพัฒนาขึ้นมาโดยมาเรีย มอนเตสซอริ ฐานคิดของแนวคิดมอนเตสซอริก็คือ การศึกษาควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามควา,ต้องการตาม ธรรมชาติของเขาและสอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัยโดยจัดการเรียนการสอนที่ใช้ประโยชน์จาก ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยให้มากที่สุด วิธีการหลักของแนวคิดมอนเตสซอริก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้และทำงานด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น แนวคิดนี้เชื่อว่า เด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทัง้ หมดโดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาทสัมผัสต่างๆ ตัง้แต่การเห็น การได้ยิน และการสัมผัส รวมทัง้ กิจกรรมหรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย หรือการเรียนรู้แฝงอยู่ อุปกรณ์ที่ใช้ก็ เช่น รูปทรงเลขาคณิตเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และจดจำสิ่งของจากประสบการณ์การสัมผัส (ที่มา : โรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน)



กิจกรรมหลักของมอนเตสซอรี่มีอยู่ ๓ กลุ่มด้วยกันคือ
๑.     กิจกรรมในกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีสมาธิและเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้พัฒนากล้มเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก
๒.     กิจกรรมในกลุ่มประสาทสัมผัส ฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าให้สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
๓.     กิจกรรมในกลุ่มวิชาการ (คณิตศาสตร์และภาษา) เพื่อปูพื้นฐานความรู้ให้กับเด็กเกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข การอ่านและการเขียน เด็กจะได้เรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมสู่นามธรรมโดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่เป็นสื่อ


การสอนแนวมอนเตสซอรี่เน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และเป็นไปอย่างมีขั้นตอน เพราะเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความมีระเบียบ ดั้งนั้น การเตรียมการสอนของครูจึงต้องเป็นไปตามขึ้นตอนด้วย และยังให้ความสนใจความสามารถของมนุษย์ เชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ มีสิทธิเรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต และต้องมีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ (ที่มา : คู่มือเลือกโรงเรียนให้ลูกรัก)


            ข้อชวนคิดที่นุ้ยอยากให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองตระหนักก็คือจุดแข็งและจุดอ่อนของการสอนแนวนี้  จุดอ่อนที่สังเกตได้ชัดกับการสอนแนวนี้คือ ในแง่ทักษะทางสังคม เด็กอาจขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครู เพราะเด็กต้องทำกิจกรรมของใครของมัน แม้ตามทฤษฎีจะบอกว่านี่คือ  Child Centre ก็ตาม แต่เป็นมองที่วิธีคิดของเด็ก โดยปล่อยให้เด็กคิดอย่างอิสระ ทำด้วยตนเอง เน้นความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบ ขณะที่จริงๆ แล้วความรู้ทีเด็กได้จากการเล่นอุปกรณ์นั้น เด็กไม่ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แต่เล่นหรือทำไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้

            จุดเด่นที่เห็นได้ชัดก็คือ ความเชื่อมั่นเรื่องประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งตรงนี้ช่วยพัฒนาเด็กได้มาก ในกลุ่มที่พ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นเด็กเรียบร้อย มักจะชอบแนวคิดแบบนี้ เพราะรากฐานของแนวคิดนี้มาจากศาสนา

            หากคุณพ่อคุณแม่ชอบโรงเรียนแนวนี้ ก็คงต้องดูให้ถึงแก่นว่าโรงเรียนที่บอกว่าใช้แนวมอนเตสซอรี่นั้นคำนึงถึงหลักการ  Child Centre จริงหรือไม่ และอุปกรณ์ที่ให้เด็กใช้ก็ต้องเป็นอุปกร์มอนเตสซอรี่จริงๆ และครูจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้สอนตามขั้นตอน และจะลัดขั้นตอนไม่ได้ ซึ่งหากทำได้จริงๆ แล้ว ก็จะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการได้ดี

โรงเรียนทางเลือกในไทยที่นำแนวคิดมอนเตสซอริมาใช้ เช่น โรงเรียนปิติศึกษา โรงเรียนมอนเตสเซอร์รี่ภูเก็ต โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว โรงเรียนสมบุญวิทย์ และโรงเรียนอนุบาลยุวมิตร

สำหรับตัวนุ้ยเองนั้น ก็เคยได้ไปดูโรงเรียนแนวนี้อยู่บ้าง แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างของ รร. แนวนี้ นุ้ยก็ยังแบ่งรับแบ่งสู้อยู่ค่ะ บางครั้งคนเป็นพ่อแม่ก็กลัวนะคะว่า ถ้าเอาลูกเข้า รร. แนวนี้แล้ว พอจบอนุบาลและต้องต่อแนวไหน แนวเดิมมีหรือไม่ หรือว่าถ้าเอาลูกไปเข้าในระบบ ลูกจะปรับตัวได้ไหม เริ่มมีแต่คำถามเข้ามาในหัว นุ้ยเองยอมรับเลยค่ะว่ากังวลมาก แต่ก็อีกนะคะ พ่อแม่ก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก แต่นุ้ยก็ยังมีความเชื่ออยู่ลึกๆ ว่า เด็กสามารถปรับตัวได้ค่ะ ไม่ว่าเราจะเลือกโรงเรียนแบบไหนให้ลูก ถ้าเวลานี้เศรษฐกิจดี ก็จะเลือกโรงเรียนที่เราต้องการให้ลูกได้ แต่ถ้าวันหนึ่งครอบครัวอาจเกิดพลิกผันทางเศรษฐกิจ เราก็ต้องส่งลูกเข้า โรงเรียนตามความสามารถของเรา (รร.ในระบบของรัฐ) ลูกก็ต้องเรียนได้ค่ะ เราคนเป็นพ่อแม่ ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกค่ะ ลูกจะเชื่อมั่นในตัวของเรา เค้าจะมั่นใจว่าโรงเรียนที่พ่อแม่เลือกให้กับเค้านั้นดีและเหมาะสมกับเค้าแล้วเช่นกันค่ะ
           
     
ปล. สวัสดีปีใหม่กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ มีความสุขมากๆนะคะ ปีใหม่นี้สัญญาว่าจะพยายามมาอัพบล็อคทุกสัปดาห์ค่ะ อยากให้เขียน หรือหาเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาทางใด หรือสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ ติดต่อได้ที่ pornthipa014@gmail.com
ยินดีรับทุกความคิดเห็นค่ะ