Waldorf Education (May and
Nordwall, www.waldorfanswer.com, retrieved in 2012 )
Waldorf
Education began in the spring of 1919 in Stuttgart, Germany, after the ravages
of World War I, by Rudof Steiner, the founder of Anthroposophy. He had lectured
to the worker of various factories in Stuttgart, including those of the Waldorf
Astoria Cigarette factory.
Waldorf education in base on an
anthropological view and understanding of human being, that is as a being of
body, soul and spirit. The central focus for the Waldorf teacher of the
development of that essence in every person that is independent of external
appearance by instilling in his or her pupils and understanding of and
appreciation for their back ground and places in the world. The goal of Waldorf
is to enable students as fully as possible to choose and in freedom, to realize
their individual path through life as adults.
“When children relate what
they learn to their own experience, they are interested and alive, and what
they learn becomes their own. Waldorf schools are designed to foster this kind
of learning.”—Henry Barnes, a longtime Waldorf teacher and the former Chairman of the Board
of AWSNA
This
message above can identify my perspective about Waldorf Education.
การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
โรงเรียนวอลดอฟ์แห่งแรกจัดตั้นขึ้นโดยผู้อำนวยการโรงงานยาสูบวอล์ดอร์ฟ-แอสโทเรีย
ที่เมืองสตุทการ์ท ประเทศเยอรมันนี โดยผู้อำนวยการได้ขอร้องให้รูดอล์ฟ สไตเนอร์
ผู้ก่อตั้งแนวทางมนุษยปรัชญา
และเป็นผู้มีบทบาทโดดเด่นด้านการเคลื่อนไหวฟื้นฟูบูรณะสังคม มาเป็นผู้วางแผนการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของกรรมกรในโรงงานยาสูบแห่งนี้
เพื่อให้เป็น “สถานที่ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตได้”
การเรียนการสอนแนนวนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามแนวมนุษย์ปรัญา
เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ และมีความเชื่อว่าการศึกษา
คือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ
ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจ โดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี
สิ่งที่เด็กได้สัมผัสคือธรรมชาติที่บริสุททธิ์
และเน้นว่าควนให้เวลากับช่วงวัยเด็กให้มากไม่ใช่ลดเวลาวัยเด็กให้เป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าปกติ
การศึกษาในแนวนี้นั้น
ยังสอนให้รู้จักสุดยืนที่สมดุลของตนเองในการใช้ชีวิตบนโลก โดยผ่านกิจกรรม ๓
อย่างคือ กิจกรรมทางกาย หรือการกระทำ กิจกรรมทางอารมณ์ความรู้สึก
และกิจกรรมผ่านความคิดหรือสมอง เน้นให้เด็กได้ใช้พลังงานทุกๆ ด้าน แนวการสอนนั้นจะสอนตามพัฒนาการของเด็ก
โดยเฉพาะวัน ๐-๗ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางกายมาก จึงเน้นไปที่การเล่น
เพื่อพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆ เด็กจะได้เป็นผู้ลงมือกระทำ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรม เช่น เด็กๆ
ลงมือทำขนมปังเอง เด็กทุกคนจะเห็นกระบวนการตั้งแต่แรก
เริ่มจากนำข้าเปลือกมาสีให้เป็นข้าวขาวด้วยเครื่งอสีข้าว ได้โม่ข้าวด้วยเครื่องโม่
พอเป็นแป้งก็นำไปนวด และก็นำไปอบเป็นขนมปัง ซึ่งวิธีการดั่งกล่าวจะเสริมสร้างความอดทนและปลูกฝังให้เด็กสำนึกใรบุญคุณต่อสิ่งที่ได้รับจากธรรมชาติและมนุษย์
แทนที่จะบริโภคอย่างฉาบฉวย และเด็กก็ยังเห็ฯถึงคุณค่าของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ด้วยเช่นกัน
นุ้ยเขียนมาถึงตรงนี้แล้ว
พ่อแม่บางท่านที่ได้อ่านอาจจะคิดไปได้ว่า การศึกษาแบบนี้ ไม่ต้องไปโรงเรียนก็ได้
พ่อแม่ หรือผู้ปกครองจัดเองก็ได้ แล้วจะได้ผลกับลูกจริงหรือ นุ้ยมีบทสัมภาษณ์ของ
นพ. พร
พันธุ์โอสถ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปัญโญทัย ที่เน้นการศึกษาแบบวอลดอร์ฟมาฝากกันนะคะ
พันธุ์โอสถ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปัญโญทัย ที่เน้นการศึกษาแบบวอลดอร์ฟมาฝากกันนะคะ
“เราพยายามให้เด็กเห็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้เข้าใจในแนวทางพื้นฐานใรการปรับตัวเข้ากับชีวิต
และกระตุ้นความร่วมมือของเด็ก
การเรียนรู้ทุกอย่างจึงต้องเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาเหมือนกันเป็นประสบการณ์จริงของเขา
ให้เขาได้สนใจหลายๆ ด้าน จุดนนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับเด็กๆ
ว่าเขาสามารถทำได้”
แต่ก็อีกเช่นกันการศึกษาก็เหมือนกับเหรียญมันก็มีสองด้าน
นุ้ยเองก็มีข้อชวนคิดมาฝากพ่อแม่ และผู้ปกครองเช่นกันนะคะ สำหรับการศึกษาในแนวนี้
การศึกษาแบบวอลดอร์ฟเป็นการสอนเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ดึ้งส่วนลึกที่สุดของจิตใจ
การนำวิธีการสอนแบบนี้มาใช้นั้นก็จำเป็นต้อนำทั้งระบบการศึกษาไปใช้ ไม่ใช่นำเพียงบางรูปแบบมาใช้
แล้วอ้านตนเองว่าสอนแบบวอลดอลร์ฟ ซึ่งพ่อแม่ก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยนะคะ
ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีโรงเรียนที่สอนแนววอลดอร์ฟเต็มรูปแบบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นค่ะ
เช่น โรงเรียนปัญโญทัย โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก และโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ
ในความคิดเห็นส่วนตัวของนุ้ยนั้น
นุ้ยเองก็ชอบการศึกษาแนวทางนี้อยู่เช่นกัน มันเป็นการปลูกฝังด้านคุณธรรม
และจริยธรรมให้กับเด็ก เด็กที่ได้รับการศึกษาแนวนี้ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน
เป็นเค้ามีจิตใจดี มองโลกในแง่ดี มันก็จะส่งผลต่อการเรียน เค้าพร้อมที่จะเรียนรู้
เข้าใจ จึงทำให้เค้ารักการเรียนรู้ และเมื่อพิจารณาถึงคนที่มีศักยาภาพสูง
ที่เป็นคนเก่งและดี โดนส่วนมากแล้วเค้าจะได้รับการศึกษาแนวทางนี้ทั้งนั้น ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าการศึกษารูปแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ
ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยาภาพด้านการศึกษาที่สูง
เมื่อกลับมามองประเทศไทยเราเอง
เราเองก็ยังยึดที่จะให้ลูกหลานเรียนเก่ง เรียนแต่วิชาการ เรียนพิเศษทั้งเสาร์
และอาทิตย์ ไม่มีวันหยุด นี่หรือคือทางออกของการศึกษาไทย
แม้แต่การศึกษาในระบบก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์และความต้องการของผู้ปกครองได้เลย
ประเทศที่เค้าเจริญแล้วนั้น เค้าเคยล้มเหลวทางด้านการศึกษาโดยยัดวิชาการให้กับเด็ก
แต่แท้จริงแล้ว การศึกษานั้นจะต้องพัฒนาที่ตัวเด็ก เมื่อเด็กพร้อมเรียนรู้ เต็มใจ
และอยากที่จะเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็ต้องสูงขึ้นตามมา แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังทำอยู่นี้
คือการนำกระบวนการด้านลบของการศึกษาในประเทศที่เจริญแล้วมาใช้
ประเทศไม่ใช่ตัวอย่างการทดลอง
เด็กนักเรียนไทยไม่ใช่เครื่องมือทดสอบผลงานของรัฐนมตรีกระทรวงศึกษา ฉะนั้น
ก็ที่ท่านจะมีนโยบายหรือทำอะไรกับระบบการศึกษาก็ขอให้พิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบคือเด็กที่จะเติบโตเป็นประชากรของประเทศต่อไป
สัปดาห์นี้แม่นุ้ยอาจจะดูเก็บกดเรื่องนโยบายด้านการศึกษา
และข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ซึ่งแต่ละอย่างนั้น ไม่ได้ดั่งใจเลย ไม่ทราบว่ากระทรวงใช้สมองส่วนไหนคิดและออกนโยบาย แรงไปไหมเนี่ย แต่มันก็ไม่ไหวจริงๆ นะคะ แต่อย่างไรก็ตามนุ้ยก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ถ้าบทความนี้ล่วงเกินหรือพาดพิงผู้ใด ไม่มีใครว่าจ้างให้เขียนค่ะ เขียนมาจากมันสมองและสองมือนี้เท่านั้น เป็นความคิดส่วนตัวทั้งสิ้นค่ะ เจอกันใหม่เร็วๆ นี้นะคะ
ซึ่งแต่ละอย่างนั้น ไม่ได้ดั่งใจเลย ไม่ทราบว่ากระทรวงใช้สมองส่วนไหนคิดและออกนโยบาย แรงไปไหมเนี่ย แต่มันก็ไม่ไหวจริงๆ นะคะ แต่อย่างไรก็ตามนุ้ยก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ถ้าบทความนี้ล่วงเกินหรือพาดพิงผู้ใด ไม่มีใครว่าจ้างให้เขียนค่ะ เขียนมาจากมันสมองและสองมือนี้เท่านั้น เป็นความคิดส่วนตัวทั้งสิ้นค่ะ เจอกันใหม่เร็วๆ นี้นะคะ
ปล. คราวหน้าจะเขียนเกี่ยวกับการสอบแบบนีโอฮิวแมนนิสต์
ที่ใครๆ ก็อยากส่งลูกเข้าไปเรียน แต่จับฉลากไม่ได้สักที จะทำยังไงดี มีรูปมากฝากแยะด้วยค่ะ
อย่าลืมติดตามกันนะคะ
สวัสดีค่ะ เพิ่งได้มาอ่าน blog ของคุณนุ้ย น่าสนใจและมีประโยชน์มากเลยค่ะ ตัวเองก็เป็นคุณแม่มือใหม่เหมือนกันค่ะ ไว้จะติดตามอ่าน blog คุณนุ้ยต่อไปนะคะ ^.^
ReplyDeleteขอบคุณมากๆ ค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ไม่ทราบว่าคุณแม่ชื่ออะไรคะ จะได้เรียกกันถูก นุ้ยก็ไม่ค่อยได้เข้ามาอัพสักเท่าไหร่นะคะ นานๆ สัก ประมาณ เดือนละครั้งค่ะ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือว่า อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิญได้เลยนะคะ
ReplyDeleteหญิงค่ะ
Delete