Friday, February 15, 2013

Neo-Humannist Education/ นีโอฮิวแมนนีส


Neo-Humanist Education (NHE) (Neohumanist Education, www.nhe.gurukul.edu, 2006)
NHE is firmly rooted in the philosophy and principles of Neo humanism, which stands for “the practice of love for all creation including plants, animals, and the in animated world” as propounded by the India philosopher Shrii P.R. Sarkar.

NHE incorporates a harmonious blending of oriental introvalsal philosophy and occidental extroversial science. Its methodology is flexible, creative and culturally sensitive, making it adaptable to different cultures and part of the world.

NHE seeks to redefine the human experience, and unleashes infinite learning potential into our live by expanding our understanding of ourselves and our potential. Spirituality, creativity and love are the center of this new force.

This concept is believed that 95 percent of children’s learning environments that influence the development of children. And another 5 percent comes from genetic. The students return to the main point that is quite too clear. Because a child's life are many factors that affect the learning of their children as well.

การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส หรือ  Positive Perfection มีลักษณะเป็นเช่นไร?
การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส คือแนวทางในการทำให้เด็ก เก่ง ฉลาด แข็งแรง มีความคิด มีน้ำใจ โดยใช้วิธีการด้านบวก ซึ่งสามารถรวบรวมเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
·       การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ
·       การพัฒนาเซลล์สมองเด็ก
·       การสร้างภาพพขน์ด้านบวกให้กับเด็ก
·       การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
·       การให้ความรัก
การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ
               นักจิตวิทยาการศึกษาในปัจจุบันได้ยอมรับแล้วว่าอารมณ์และความรู้สึกของคนเรามีผลต่อการเรียน คนเราจะมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้สูงสุดเมื่อจิตใจอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด ปราศจากความตึงเครียด และปราศจากความกังวล ดังที่นักจิตวิทยานีโอฮิวแมนนิสได้กว่าวไว้ว่า “คนเราจะเกิดการเรียนรู้และใช้ศักยภาพของตัวเองได้สูงสุดเมื่อสบายใจและมีความสุข ซึ่งเราอาจจะเรียกสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนี้ว่า สภาวะคลื่นสมองต่ำ
ดังนั้นกิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กจะต้องทำให้เกิดภาวะคลื่นสมองต่ำมากที่สุด เช่น ก่อนเข้าห้องเรียนจะมีการฝึกโยคะ นั่งสมาธิ อันถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กเรียนหนังสืออย่างสบายใจและมีความสุขในการรับรู้ เด็กๆ ที่ถูกจัดให้เรียนรู้อยู่ในบรรยากาศที่ช่วยให้มีคลื่นสมองต่ำ เช่น ได้เรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม ได้รับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ (ลดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ๆ และอาหารรสจัด) ได้ออกกำลังกายอยู่เสมอ ได้รับการยกย่องชมเชยที่เหมาะสม และได้ฝึกทำโยคำและทำสมาธิ และได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ในขณะที่เปิดเพลงเบาๆ ที่จะทำให้คลื่นสมองต่ำ จะเรียนรู้ข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว


การพัฒนาเซลล์สมองเด็ก
            เด็กที่เกิดมาแต่ละคนมีเซลล์สมองจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เราอาจจะมองได้ว่าเด็กบางคนสมองดี และสมองไม่ค่อยดี ซึ่งในความเป็นจริงนั้น คนที่สมองดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเซลล์ของสอมง แต่ขึ้นอยู่กับเซลล์ประสานประสาท (Synapes) ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งเซลล์ประสานประสาทนี้เกิดมากขึ้นเท่าใด การประสานงานของสมองย่อมดีขึ้นเท่านั้น สรุปได้ง่ายๆ คือ คนที่ฉลาด มีสมองดี ฉับไว มีความจำดี ก็คือคนที่มีเซลล์ประสานประสทเชื่องโยงกันดีนั่นเอง มีการค้นพบที่น่าสนใจว่า เซลล์ประสานประสาทจะยายตัวได้ดีเมื่อมือกับเท้าของเราทำงานมาก เพราะปลายประสาทจะอยู่ตรงส่วนนี้มาก ฉะนั้นในแนวคิดนี้จึงให้เด็กเรียนๆ เล่นๆ เรียนด้วยก็จริง แต่ต้องได้เคลื่อนไหวด้วย ดังนั้นกิจกรรมจึงมุ่งให้เด็กออกกำลังกายนอกห้องเรียน ได้ปีนป่าย ได้วิ่งเล่น เพื่อให้มือกับเท้าทำงานมากที่สุดนั่นเอง


การสร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับเด็ก
            ภาพพจน์ของตนเอง คือความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเอง ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเองโดยตรง ซึ่งอาจจะตรงหรือแตกต่างจากความรู้สึกที่คนอื่น รู้สึกต่อเรา เราทุกคนต่างก็มีภาพพจน์เป็นของตนเอง ซึ่งอาจจะมีทั้งทางด้านบวก และด้านลบ  มีผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเอง และได้ค้นพบว่า
·       ภาพพจน์ที่เรามีต่อตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้
·       ภาพพจน์ที่เรามีต่อตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงไปใยนทางที่ดีขั้นได้ ซึ่งจะทำให้เรามีความเชื่อมั่นสูงขึ้น กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น พร้อมที่ยอมรับและปรับปรุงตัวเองให้ดีขื้น ซึ่งจะทำให้การรับรู้และเรียนรู้ของเรานั้นดีขึ้นด้วย

             ดังนั้นบทบาทของครูจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของครูคือ บทเรียนที่ดีที่สุดของเด็ก คนที่เป็นครูจึงต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งพฤติกรรมส่วนตัว และเทคนิคการสอนด้วย เด็กจึงเป็นคนที่สมบูรณ์
                                            
การให้ความรัก
            อาจเปรียบเสมือนกับแห้วน้ำ ถ้าความรักของเด็กคนนั้นเต็ม ก็จะไหลเผื่แผ่ไปถึงผู้อื่น แต่ถ้าความรักของเขามีเพียงแค่ค่อนแก้ว เขาย่อมเรียกร้องต้องการการแสดงออกซึ่งความรักที่จะทำให้เขาได้รับความรักล้นเต็ม จึงเป็นเรื่องปกติที่ครูในโรงเรียนแนวคิดนี้จะเป็นครูที่มีบุคลิกภาพอบอุ่น ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำชม และสัมผัสเด็กด้วยการกอด ซึ่งล้วนเป็นการแสดงออกถึงความรักทั้งสิ้น


ข้อชวนคิด
            แนวคิดนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็ก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ มาจากสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็ก อีก ๕ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งในหมู่นักศึกษากลับมองว่าหลักเชื่อนี้ค่อนข้างชี้ชัดเกินไป เพราะในวิถีชีวิตของเด็กยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วยเช่นกัน

            สำหรับในความคิดเห็นของนุ้ยนั้น นุ้ยเองได้มีประสบการณ์ตรงการเข้าไปดูกิจกรรมการเรียนการสอนของ รร. ที่ใช้แนวคิดนี้ นุ้ยเห็นด้วยในแนวคิดนี้นะคะ เพราะเด็กพอหลุดจากบ้านก็ไปโรงเรียน ฉะนั้นโรงเรียนก็จะต้องประกอบไปด้วยความสุข และตัวอย่างที่ดีสำหรับเด็ก การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อคลื่นสมองต่ำ เช่นเดียวกับการที่เรามีสมาธิ มันก็จะทำให้เรามีจิตจดจ่อกับที่เรากำลังเรียน

            บรรยากาศในโรงเรียนโดยทั่วไปแล้วก็เหมาะสมกับการเรียนรู้นะคะ มีการปฏิบัติโยคะและนั่งสมาธิก่อนการเรียน เด็กๆ ดูร่าเริงแจ่มใส และมีความสุขดีค่ะ ถามว่าอยากให้ลูกเข้าโรงเรียนแบบนี้ไหม ถ้ามีโอกาสก็อยากนะคะ แต่ไปจับที่ไรก็พลาดทุกทีค่ะ คงมีพ่อแม่หลายท่านที่มีความรู้สึกเดียวกันกับนุ้ย แต่ดวงของลูกเราไม่ก็คงไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการที่เราจะตัดสินว่าลูกเราเหมาะหรือไม่เหมาะกับที่นี่ เพราะจะมีเด็กสักกี่คนที่ดวงดีแล้วจับสลากได้ใช่ไหมค่ะ นุ้ยคิดว่าก่อนที่พ่อแม่จะส่งลูกไปจับก็คงต้องศึกษาการสอนและแนวคิดของโรงเรียนแนวนี้ก่อนแล้ว ถ้าลูกจับไม่ได้ก็อย่าไปโทษลูกนะคะ เพราะเรายังมีทางเลือกอื่นๆ โรงเรียนอื่นๆ ที่น่าจะเหมาะกับลูกของเราหรือ ใกล้เคียงกับแนวคิดที่เราอยากจะให้ลูกเข้าเรียนได้ค่ะ
           
            นุ้ยเองก็จะต้องเตรียมหา รร. ให้กับตอนเค้าเข้า ป.๑ เหมือนกันค่ะ ตอนนี้ก็หาดูไปเรื่อยๆ ว่าที่ไหนจะดีนะทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สถานที่ และบุคลากร ยุ่งขิงเป็นที่สุดเลยค่ะกับการหา รร. ให้ลูก พ่อแม่ท่านใดได้เข้ามาอ่านแล้ว อยากจะแชร์ประสบการณ์การเลือก รร. ให้ลูก ขอให้ฝากคอมเม้นได้เลยนะคะ เพราะความคิดเห็นของท่านจะช่วยเพิ่มความรู้และเสริมประสบการณ์แก่พ่อแม่ท่านอื่นๆ ด้วยค่ะ
            แล้วเจอกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ



5 comments:

  1. อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากๆค่ะคุณนุ้ย จะพยายามนำมาปรับใช้กับลูกของมดบ้าง
    มดเห็นด้วยนะคะว่าถ้าเรามีความสุข มีความรู้สึกดีๆ จะทำให้เราตั้งใจและมีความกระตือรือล้นที่จะทำสิ่งต่างๆค่ะ//มด

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณค่ะคุณมด นุ้ยเองก็พยายามจะนำวิธีและแนวคิดนี้มาปรับใช้กับลูกค่ะ แม้ว่าลูกจะไม่ได้เข้า รร. ดังกล่าว นุ้ยเชื่อนะคะ เมื่อใจเราสงบและเป็นสุขลูกเราก็จะสงบและสุขด้วยค่ะ ถ้าวันไหนที่เราอารมณ์เสี หรือว่าหงุดหงิน ลูกคือผู้ที่รับอารมณ์เราได้เร็วมากเลยค่ะ เค้าก็จะมีปฏิกิริยาโด้ตอบ หรือต่อต้านค่ะ

      Delete
  2. I agree with you Nui. Spiritual development is equally important for children to be able to live in harmony with people & envirnment around them.

    ReplyDelete
  3. I would like to have my own kindergarten like this, fully of love in good learning environment. ^^

    ReplyDelete
  4. ตกลงในท้ายที่สุดคุณแม่นุ้ยให้ลูกเรียนที่ไหนเอ่ย

    ReplyDelete