Monday, February 25, 2013

Whole Language Approach / การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ (โฮลแลงเกวจ)


Whole Language Approach

Definition of Whole Language
 A method of teaching reading and writing that emphasizes learning whole words and phrases by encountering them in meaningful contexts rather than by phonics exercises.

Whole language describes a literacy philosophy which emphasizes that children should focus on meaning and strategy instruction. It is often contrasted with phonics-based methods of teaching reading and writing which emphasize instruction for decoding and spelling. However, from whole language practitioners' perspective, this view is erroneous and sets up a false dichotomy. Whole language practitioners teach to develop knowledge of language including the graph phonic, syntactic, semantic and pragmatic aspects of language. Within a whole language perspective, language is treated as a complete meaning-making system, the parts of which function in relational ways. It has drawn criticism by those who advocate "back to basics" pedagogy or reading instruction because whole language is based on a limited body of scientific research.



Overview
Whole language is an educational philosophy that is complex to describe, particularly because it is informed by multiple research fields including but not limited to education, linguistics, psychology, sociology, and anthropology (see also Language Experience Approach). Several strands run through most descriptions of whole language:
·        focus on making meaning in reading and expressing meaning in writing;
·        constructivist approaches to knowledge creation, emphasizing students' interpretations of text and free expression of ideas in writing (often through daily journal entries);
·        emphasis on high-quality and culturally-diverse literature;
·        integrating literacy into other areas of the curriculum, especially math, science, and social studies;
·        frequent reading
·        with students in small "guided reading" groups
·        to students with "read aloud"
·        by students independently;
·        reading and writing for real purposes;
·        focus on motivational aspects of literacy, emphasizing the love of books and engaging reading materials;
·        meaning-centered whole to part to whole instruction where phonics are taught contextually in "embedded" phonics (different from synthetic or analytic phonics); and
·        emphasis on using and understanding the meaning-making role of phonics, grammar, spelling, capitalization and punctuation in diverse social contexts.


การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ (ที่มา :คู่มือเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูกรัก ๒๕๕๑)
            การเรียนการสอนแบบธรรมชาติ หรือโฮลแลงเกวจ เริ่มเป็นที่คุ้นหูคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น เพราะปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้สำหรับเด็ก
            โฮลแลงเกจถูกนำมาใช้สอดแทรกไปกับการเรียนรู้ภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน โดยมีความเชื่อว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษา ถ้าเราได้สังเกตเด็กก็จะพบว่า เด็กที่มีอายุเกือบ  ๑ ปี ก็จะเริ่มพูดได้โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องสอน นั่นเพราะเด็กเรียนรู้จากความหมาย ประสบการณ์และการเรียนแบบ นั่นคือการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติ เด็กจึงไม่รู้ว่าเป็นความลำบากที่จะเรียนรู้
            เมื่อเรื่องการพูดเป็นเรื่องง่าย เรื่องการอ่านและการเขียนก็น่าจะไม่ยาก การเรียนรู้การอ่านและการเขียนแบบนี้ก็จะแตกต่างจากเดิมไปสิ้นเชิง ห้องเรียนของแนวการสอนแบบโฮลแลงเกวจจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑.    ครูสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กคุ้นกับหนังสือ ซึมซับเรื่องราวในหนังสือ โดยอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน ให้เด็กเล่าเรื่องจากการพูด การเขียน การวาด หรือการแสดง
๒.    การสอนภาษาต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน
๓.    ส่งเสริมให้เด็กสนใจและรักที่จะเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง ในห้องควรมีหนังสือให้เด็กเลือกตามความสนใจ
๔.    การสอนภาษาควรมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมาย่อเด็ก
๕.    การสอนภาษาต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ


ข้อชวนคิด : แนวการสอนแบบโฮลแลงเกวจ บทบาทของครูสำคัญมาก ครูจะต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาษา กระตุ้นให้เด็กได้ลองเขียน ผิดๆ ถูกๆ ไม่เป็นไร แต่ครูต้องให้กำลังใจ ต้องเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก เข้าใจพัฒนาการการอ่าน การเขียนแบบธรรมชาติ เพื่อเข้าใจว่าเวลาที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงแม้จะเพียงเล็กน้อย ครูก็จะได้ให้กำลังใจเด็ก ซึ่งทั้งหมดนี้ยึดหลักการธรรมชาติเป็นสำคัญ นั่นคือให้ค่อยๆ เป็นไปตามธรรมชาติของเด็กในชีวิตประจำวัน

            เพราะฉะนั้นโรงเรียนที่นำแนวคิดนี้มาใช้ คุณครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เด็กจึงจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เรื่องคุณครูก็เปรียบเสมือนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กด้วยเช่นกัน คุณครูจึงควรจัดสภาพแวดล้อม จัดสื่อ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่นได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
            หากโรงเรียนไหนอ้างว่าใช้แนวโฮลแลงเกวจ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูว่าโรงเรียนเข้าใจกระบวนการสอนแบบนี้มากแค่ไหน ในระดับอนุบาลจะเรียนแค่ภาษาที่สื่อความหมายกับเด็กเท่านั้น ยังไม่ลงลึกเรื่องวรรณยุกต์ การสะกดคำ แต่ถ้าโรงเรียนไหนสอนก็แสดงว่ามาผิดทางแล้ว
            

1 comment: